เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » ข้อมูลลงาน
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
ประเภทผลงาน :
ชื่อผลงาน: ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดสภาพสถานศึกษาตามแนววิถีพุทธกับพฤติกรรมของนักศึกษาพยาบาลตามแนววิถีพุทธ กรณีศ
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
นาง นฤมล  จันทรเกษม ผู้ร่วมวิจัย
นาย เก้า  จันทรเกษม หัวหน้าวิจัย
กลุ่มสาขาวิชาการ : การศึกษาทั่วไป
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวไทย ได้รับการกล่อมเกลาจากคำสอนของพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ประวัติศาสตร์จนกล่าวได้ว่า วิถีพุทธ คือ วิถีวัฒนธรรมของคนไทยส่วนใหญ่จนมีความเป็นเอกลักษณ์ที่ทั่วโลกยอมรับ ( กระทรวงศึกษาธิการ. 2546 : 7) พุทธธรรมหรือพุทธศาสตร์เป็นองค์ความรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้ศึกษาเข้าใจธรรมชาติของโลก และชีวิตที่แท้จริง สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ประเทศไทยซึ่งมีศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติ มีขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ มีรากฐานที่สำคัญมาจากพระพุทธศาสนา การศึกษาของกุลบุตรกุลธิดา มีฐานของการใช้หลักธรรมของพระพุทธศาสนามาอบรมสั่งสอน ภายใต้ความรักความเอื้ออาทร และความอบอุ่นของครอบครัว มีการดำเนินชีวิตด้วยวิถีธรรมอย่างสงบสุข มีจิตใจและพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างงดงาม ด้วยคุณธรรมและจริยธรรมภายใต้สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และภูมิปัญญาไทย (สำนักการศึกษา สังกัดกรุงเทพหมานคร. 2548 : 1)
การพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ ตามทฤษฎีของพระพุทธเจ้า (รมณีย์ อาภาภิรม .2544 : 3 )ได้อธิบายไว้ว่า คนที่มีคุณภาพและศักยภาพนั้น คือ บุคคลที่สังคมต้องการและเป็นบุคคลที่สามารถทำให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองและมั่นคง บุคคลที่มีคุณภาพและศักยภาพอยู่ที่ใดย่อมนำความเจริญไปในที่แห่งนั้น จึงเป็นที่ต้องการของหน่วยงานต่าง ๆ คนที่มีคุณภาพและศักยภาพย่อมมีความสมบรูณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ประกอบการงานอย่างมีประสิทธิภาพ พึ่งตนเองได้ อยู่อย่างพอเพียง สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งบุคคลจะมีลักษณะเช่นนี้ได้ ย่อมต้อง มีศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ย่อมต้องได้รับการฝึกฝน ตามแนวทางมหาสติปัฏฐาน 4 อริยมรรคมีองค์ 8 ของพระพุทธเจ้า และการฝึกพัฒนาจิต ด้วยการรู้สึกไปที่จิต จึงทำให้เกิดการพัฒนาด้านอารมณ์ ( E.Q.) การพัฒนาด้านปัญญา (I.Q.) และการพัฒนาทางสังคม (S.Q.) ขึ้นพร้อมกันโดยอัตโนมัติ ซึ่งนำไปสู่การเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่การเป็นคนมีคุณภาพและศักยภาพ ของหน่วยงานต่าง ๆ และของประเทศชาติ
รัฐบาลไทยจึงได้ออกพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 ให้สถานศึกษาจัดการศึกษาเน้นทั้งความรู้ และคุณธรรม ตลอดทั้งให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ โดยเฉพาะด้านผู้เรียน มาตรฐานที่ 1 ให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ โรงเรียนวิถีพุทธจึงเป็นโรงเรียนรูปแบบใหม่ ที่จะช่วยผลักดัน เด็กและเยาวชนไทย ให้สามารถพัฒนาตามศักยภาพ เป็นคนดี คนเก่งของสังคม และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข โดยนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในการบริหารและการพัฒนาผู้เรียนเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยเน้นกรอบการพัฒนาตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล (พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตที่ดีสำหรับตนและสังคม) สมาธิ ( จิตที่ตั้งมั่น เข้มแข็ง และสงบสุข) และปัญญา ( มีศักยภาพในการคิดการแก้ปัญหาด้วยเหตุผลอย่างถูกวิธี ) ซึ่งจะช่วยให้การจัดการศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี เก่ง และมีความสุขอย่างแท้จริง (สำนักการศึกษา สังกัดกรุงเทพหมานคร.2548 : 2) ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการพัฒนา การกิน อยู่
ดู ฟังเป็น คือมีปัญญา รู้เข้าใจ ในคุณค่าแท้ ใช้กระบวนการทางวัฒนธรรมแสวงหาปัญญาและ
มีวัฒนธรรมเมตตาเป็นฐานการดำเนินชีวิต โดยมีผู้บริหารและคณะครูเป็นกัลยาณมิตรการพัฒนา ลักษณะโรงเรียนวิถีพุทธ เน้นการจัดสภาพทุก ๆ ด้านเพื่อสนับสนุน ให้ผู้เรียนพัฒนาตามหลักธรรมอย่างบูรณาการ โดยส่งเสริมให้เกิดความเจริญงอกงาม การจัดสภาพของโรงเรียน
วิถีพุทธ ประกอบด้วย ด้านกายภาพ คืออาคารสถานที่ ห้องเรียน แหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อม เป็นต้น ด้านกิจกรรมพื้นฐานชีวิต เช่น กิจกรรมประจำวัน กิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรมนักเรียนต่าง ๆ ด้านการเรียนการสอน เริ่มตั้งแต่ การกำหนดหลักสูตรสถานศึกษา การจัดหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ จนถึงกระบวนการเรียนการสอน ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ ในการปฏิบัติต่อกัน ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน หรือ ผู้สอนกับผู้สอน เป็นต้น และด้านบริหารจัดการ ตั้งแต่กำหนดวิสัยทัศน์ จุดเน้น การกำหนดแผนปฏิบัติการ การสนับสนุน ติดตาม ประเมินผลและพัฒนาต่อเนื่อง ซึ่งการจัดสภาพในแต่ละด้านจะมุ่งเพื่อให้การพัฒนาผู้เรียน ตามระบบไตรสิกขา การดำเนินงานที่ชัดเจนมีประสิทธิภาพ ควรเป็นธรรมชาติ สภาพแวดล้อมที่ชวนให้มีจิตใจสงบส่งเสริมปัญญา กระตุ้นการพัฒนาศรัทธา และศีลธรรม กิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิตกระตุ้นให้ การกิน อยู่ ดู ฟัง ดำเนินด้วยสติสัมปชัญญะเป็นไปตามคุณค่าแท้ ด้านการเรียนการสอนบูรณาการพุทธธรรมในการจัดการเรียนรู้ชัดเจน ด้านบรรยากาศแลปฏิสัมพันธ์เอื้ออาทร เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ส่งเสริมทั้งวัฒนธรรมเมตตา และวัฒนธรรมแสวงปัญญา (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.2547 : 82 ) กิจกรรมผู้เรียนในโรงเรียนวิถีพุทธ คือการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายต่อเนื่อง เป็นวิถีชีวิต เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักคิด มีการฝึกปฏิบัติเสมอ ๆ ทั้งด้านความประพฤติ จิตใจ และปัญญา เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้ง 3 ด้านไปพร้อม ๆ กัน
ในสังคมยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร สื่อต่าง ๆ ที่แผ่ขยายไปอย่างทั่วถึง สังคมแห่งการแข่งขัน สภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพ สภาพแวดล้อมทางด้านจิตใจและสังคมที่มีเปลี่ยนไป ล้วนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลทั้งสิ้น ในการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลจึงต้องมีการพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้ตามทันกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถคิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาเป็น มีการพัฒนาความคิดเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ ศึกษาค้นคว้า ตัดสินใจ มีทักษะในการเป็นผู้นำและเป็นผู้มีความรับผิดชอบในการศึกษาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ (สถาบันพระบรมราชนก,กระทรวงสาธารณสุข.2550) ประเด็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งที่สถาบันบรมราชนก ซึ่งรับผิดชอบด้านการจัดการศึกษาควรให้ความสำคัญ คือ พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมของนักศึกษาพยาบาล ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติการพยาบาลด้วยความเอื้ออาทร ตลอดจนประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิตต่อไป
ด้วยความสำคัญดังกล่าว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท ที่มีภารกิจด้านการผลิตและพัฒนาบัณฑิตการพยาบาลและสาธารณสุข ซึ่งเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้แบบกัลยาณมิตรที่มีคุณภาพมาตรฐานเพื่อสังคม จึงได้มีแนวความคิดที่จะส่งเสริมให้สถานศึกษานำระบบของพุทธธรรมมาประยุกต์ จัดกับระบบการเรียนการสอนในสถานศึกษาปัจจุบัน เพื่อพัฒนาเยาวชนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกำหนด ที่มีคุณสมบัติของการเป็นคน ที่ดี เก่ง มีความสุข อย่างแท้จริง อันเป็นเป้าหมายแท้ของพุทธธรรมให้ชัดเจนมากขึ้น โดยผ่านการดำเนินงานของ “ วิทยาลัยวิถีพุทธ ” ซึ่งได้มีการดำเนินการมาตั้งแต่
ปีการศึกษา 2548 จนถึงปัจจุบัน มีการดำเนินการในการเตรียมการ ศึกษาเอกสารข้อมูลต่างๆ เพื่อให้มีความชัดเจนในพุทธธรรม จัดอบรมและพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีความตระหนักและศรัทธาเพื่อร่วมกันพัฒนาสถาบันไปในทิศทางเดียวกัน การดำเนินการจัดสภาพและองค์ประกอบ ของสถานศึกษา ตามแนววิถีพุทธ การพัฒนาตามระบบไตรสิกขา โดยบูรณาการสอดแทรกพุทธธรรมในหลักสูตร และกิจกรรมที่เป็นการปฏิบัติบูรณาการทั้ง ศีล สมาธิ และปัญญา
จากการดำเนินของวิทยาลัยวิถีพุทธ ที่ผ่านมา ผู้วิจัย จึงต้องการศึกษาถึงผลการดำเนินการ โดยศึกษาถึง การจัดสภาพสถานศึกษาตามแนววิถีพุทธกับพฤติกรรมของนักศึกษาพยาบาลตามแนววิถีพุทธ อันจะเป็นข้อมูลสำคัญ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดการศึกษาและพัฒนาสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล ให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม ตลอดจนเสริมสร้างบัณฑิตพยาบาลให้เป็นบุคคลที่เก่ง ดี มีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    1. เพื่อศึกษาการจัดสภาพสถานศึกษาตามแนววิถีพุทธ ของวิทยาลัยพยาบาล
บรมราชชนนี พระพุทธบาท
2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักศึกษาพยาบาลตามแนววิถีพุทธ ของวิทยาลัยพยาบาล
บรมราชชนนีพระพุทธบาท
3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดสภาพสถานศึกษาตามแนววิถีพุทธ
กับพฤติกรรมของนักศึกษาพยาบาลตามแนววิถีพุทธ ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
พระพุทธบาท
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท ประจำปีการศึกษา 2550 ที่นับถือศาสนาพุทธ จำนวน 307 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท ประจำปีการศึกษา 2550 ที่นับถือศาสนาพุทธ จำนวน 174 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % (ศิริชัย กาญจนวาสี. 2550 : 146) โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) มีระดับชั้นปี เป็นชั้น (Strata) และมีนักศึกษาเป็นหน่วยการสุ่ม (Sampling Unit)
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. เพื่อให้ผู้บริการและคณาจารย์ใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานสถาบันตามแนววิถี
พุทธให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. เป็นแนวทางให้ผู้บริหารและคณาจารย์ และบุคลากรในสถาบันการศึกษา
พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและพัฒนาสภาพแวดล้อมของสถาบันการศึกษาตามแนววิถีพุทธให้มีประสิทธิภาพเอื้อต่อการพัฒนาพฤติกรรมของนักศึกษาพยาบาลตามแนววิถีพุทธ
     นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  : ผลการศึกษาการจัดสภาพสถานศึกษาตามแนววิถีพุทธ คะแนนเฉลี่ยการจัดสภาพสถานศึกษาตามแนววิถีพุทธ ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านกายภาพ ด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต ด้านการเรียนการสอน ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ และด้านการบริหารจัดการ ซึ่งทุกรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นในด้านกายภาพ อยู่ในระดับ ปานกลาง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ ทั้งนี้ เนื่องจากสถานศึกษา ได้ส่งเสริมบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ตลอด จนมีการส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมทั้งในวิทยาลัยและการเข้าร่วมกิจกรรมสังคม มีบรรยากาศของการเคารพอ่อนน้อม ยิ้มแย้มแจ่มใส การมีความเมตตากรุณาต่อกัน ทั้งอาจารย์ต่อนักศึกษา นักศึกษาต่ออาจารย์ นักศึกษาต่อนักศึกษา และอาจารย์ต่ออาจารย์ด้วยกัน และสถานศึกษาส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษาปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น เช่น การลด ละ เลิกอบายมุข การเสียสละ
    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative Research ) เพื่อศึกษาการจัดสภาพสถานศึกษาตามแนววิถีพุทธและพฤติกรรมของนักศึกษาพยาบาลตามแนววิถีพุทธ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 - 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท ประจำปีการศึกษา 2550 ที่นับถือศาสนาพุทธ จำนวน 307 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 - 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท ประจำปีการศึกษา 2550 ที่นับถือศาสนาพุทธ จำนวน
174 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified-random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามการจัดสภาพสถานศึกษาตามแนววิถีพุทธ โดยจำแนกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต ด้านการเรียนการสอน ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ และด้านการบริหารจัดการ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ตามแนวคิดการจัดสภาพสถานศึกษาตามแนววิถีพุทธ เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น ( Reliability ) เท่ากับ .85 และแบบสอบถามพฤติกรรมของนักศึกษาพยาบาลตามแนววิถีพุทธ โดยจำแนกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านศีล ด้านสมาธิ และด้านปัญญา ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเองตามหลักไตรสิกขาของศาสนาพุทธ เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .87
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยการจัดสภาพสถานศึกษาตามแนววิถีพุทธโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( ค่าเฉลี่ย 3.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .28) 2) ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมของนักศึกษาพยาบาลตามแนววิถีพุทธโดยรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .43) และ 3) การจัดสภาพสถานศึกษาตามแนววิถีพุทธ กับพฤติกรรมของนักศึกษาพยาบาลตามแนววิถีพุทธ มีความสัมพันธ์เชิงบวก ( r = .275 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2550
ปีการศึกษา : 2549
ปีงบประมาณ : 2550
วันที่เริ่ม : 26 ม.ค. 2550    วันที่แล้วเสร็จ : 3 มี.ค. 2550
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 0.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 0.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
บทคัดย่อ        ดาวน์โหลดไฟล์ 20121027133329.doc
บทที่ 1        ดาวน์โหลดไฟล์ 20121027133341.doc
บทที่ 2        ดาวน์โหลดไฟล์ 20121027133353.doc
บทที่ 3        ดาวน์โหลดไฟล์ 20121027133405.doc
บทที่ 4        ดาวน์โหลดไฟล์ 20121027133420.doc
บทที่ 5        ดาวน์โหลดไฟล์ 20121027133433.doc
ทั้งหมด 6 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6.48