เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » ข้อมูลลงาน
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: 52016 การพัฒนาารให้บริการสุขภาพสตรีเพื่อการดูแลสุขภาพเต้านม
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
ผศ. บุญสืบ  โสโสม ผู้ร่วมวิจัย
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   มะเร็งเต้านมเป็นโรคเรื้อรังที่พบมากและเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของสตรี จากอุบัติการณ์ของการเป็นมะเร็งเต้านมของสตรีในประเทศไทยปี พ.ศ.2541-พ.ศ.2543 พบอุบัติการณ์เท่ากับ 20.5 ต่อ แสนประชากร เป็นอันดับที่สองรองจากมะเร็ง ปากมดลูก (กระทรวงสาธารณสุข, 2547) และเพิ่มเป็นอันดับที่หนึ่งในปี พ.ศ. 2552 อุบัติการณ์เพิ่มสูงขึ้นเป็น 30.7 ต่อแสนประชากรในปี 2553 และเป็นระยะลุกลามปีละ 5,600 คน เสียชีวิตสูงถึงปีละ 3,000 คน คิดเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากกว่า 1 แสนบาทต่อราย ส่งผลให้ประเทศชาติต้องสูญเสียงบประมาณเป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมาพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เสียชีวิตเกือบทั้งหมดมักมาพบแพทย์เมื่อก้อนมะเร็งลุกลามไปแล้วถึงร้อยละ 56 เนื่องจากไม่รู้ตัวว่าเป็นมะเร็ง เพราะไม่เคยตรวจเต้านมมาก่อน ภายหลังการรักษาจึงไม่มีโอกาสรอดชีวิต (จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์, 2554) แม้ว่ามะเร็งเต้านมเป็นโรคที่ป้องกันได้ยากและเป็นสาเหตุการตายในอัตราสูงแต่เป็นโรคที่สามารถรักษาได้และการพยากรณ์โรคค่อนข้างดีหากดูแลสุขภาพเต้านมดี และค้นพบในระยะเริ่มแรกจะให้ผลลัพธ์ของการดูแลรักษาที่ดี สามารถรักษาให้หายขาดได้ประมาณร้อยละ 80-90 จะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายได้และมีชีวิตยืนยาวกว่ามาพบแพทย์ในระยะหลังของโรค โดยร้อยละ0.8 จะมีชีวิตอยู่ 15 ปี หรือนานกว่านั้น ยิ่งพบในระยะที่ก้อนน้อยกว่า 1 เซนติเมตร จะมีชีวิตอยู่ได้ 15 ปี ถึงร้อยละ 95 ถ้ารักษาผู้ป่วยจะมีชีวิตยืนยาวได้ 5 ปี เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 78 เห็นได้ว่าแม้จะรักษาอย่างไรมะเร็งเต้านมในบางคนก็ไม่ได้ผลดี ดังนั้น การป้องกันน่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการให้ความรู้และดำเนินการรณรงค์อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เพื่อให้สตรีไทยที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ใส่ใจดูแลสุขภาพและเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหามะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปี (สุรพงษ์ สุภาภรณ์, 2553) มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ในทุกระยะของการดำเนินโรค หากตรวจพบและทำการรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้เช่นเดียวกับคนปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โรงพยาบาลพระพุทธบาทเป็นโรงพยาบาลทั่วไป ทุติยภูมิระดับสูง และระดับตติยภูมิขนาด 315 เตียง ให้บริการประชากรในเขตรับผิดชอบ อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จากข้อมูลการรักษาของโรงพยาบาลพบว่าในปี พ.ศ. 2543 - 2547 มีสตรีที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมเข้ารับบริการ 51 คน พบว่ามีสตรีคลำพบก้อนมะเร็งเต้านมแล้วแต่มาพบแพทย์ล่าช้ากว่า 3 เดือน มากถึงร้อยละ 36.17 โดยมีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยอยู่ในระยะ 2 A ร้อยละ 30.37 และที่เป็นโรคระยะรุนแรงแล้ว (stage 3 A, 3 B ,3 C ) ร้อยละ 33.34 มีผลทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสการรักษา เนื่องด้วยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้เห็นความสำคัญต่อการให้บริการเพื่อดูแลสุขภาพเต้านม จึงเสนอนโยบายสนับสนุนระบบการบริหารจัดการโรคตั้งแต่การค้นหาโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก การให้บริการเพื่อชะลอโรคไม่ให้พัฒนาไปสู่ความรุนแรง มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานบริการปฐมภูมิ โดยยึดหลักการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลางของการรักษาพยาบาล โดยการให้บริการดูแลรักษาร่วมกันระหว่างสหสาขาวิชาชีพ จะสามารถลดภาระของการดูแลลงได้ (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2553) ดังนั้นผู้วิจัยในฐานะบทบาทของหัวหน้าพยาบาลโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและประธานคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยและญาติ ได้ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาสุขภาพของสตรีในการดูแลสุขภาพเต้านมจึงตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาระบบการบริการสุขภาพสตรีเพื่อการดูแลสุขภาพเต้านมในสตรีวัยเจริญพันธุ์ทุกราย ในเขตความรับผิดชอบอำเภอ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ให้เกิดความยั่งยืน จึงได้จัดบริการเพื่อให้สตรีสามารถดูแลสุขภาพเต้านม และค้นหามะเร็งในระยะเริ่มต้นได้เร็วขึ้น โดยพยาบาลมีบทบาทดูแลสุขภาพเต้านมตั้งแต่การป้องกันในระดับปฐมภูมิ (Ruhl., 2007: Nickerson & Potter., 2009: Ceber,Turk & Ciceklioglu., 2010) การดูแลรักษาพยาบาลระดับทุติยภูมิ และระดับตติยภูมิในฐานะพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในคลินิกการพยาบาล (clinical nurse specialist) ที่ให้การพยาบาลสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านม (Kadmon & Barak., 2009) ในการจัดแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับการดูแลสุขภาพเต้านมตั้งแต่การให้บริการเชิงรุกเพื่อค้นหาการเป็นมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก และต่อเนื่องจนถึงการได้รับการรักษาเพื่อควบคุมโรค (Yip, et al., 2008: Anderson & Jakesz., 2008:, Anderson., 2010) ส่งผลให้มีการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีชีวิตที่ยืนยาว และลดภาระค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    3.1 เพื่อศึกษาสถานการณ์ของการให้บริการสุขภาพสตรีเพื่อการดูแลสุขภาพเต้านม 3.2 เพื่อศึกษากลวิธีการพัฒนาการให้บริการสุขภาพสตรีเพื่อการดูแลสุขภาพเต้านม 3.3 เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนาการให้บริการสุขภาพสตรีในการดูแลสุขภาพเต้านม
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ศึกษาการดูแลสุขภาพเต้านมในสตรีที่อายุ 20 ปีขึ้นไปเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และศูนย์สุขภาพชุมชนที่อยู่ในเครือข่าย 11 หน่วย ระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 - เดือนมิถุนายน พ.ศ.2553
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    3.1 ด้านนโยบายสุขภาพ สำหรับการจัดบริการสุขภาพสตรีเพื่อการดูแลสุขภาพ เต้านม ควรเน้นการพัฒนาศักยภาพของพยาบาลให้มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเต้านม และมีความตระหนักเกี่ยวกับเพศภาวะที่นำไปสู่การจัดบริการที่ทำให้สตรีเข้าถึงบริการสุขภาพสามารถเข้ารับบริการรักษามะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก 3.2 สำหรับโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลศูนย์ สามารถนำกลวิธีการพัฒนาบริการสุขภาพสตรีเพื่อการดูแลสุขภาพเต้านมที่พบจากการศึกษาครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาบริการ ได้แก่ “การบริการเชิงรุก ณ ที่ตั้งรับ” การจัดทำ “คลินิกเต้านม” และให้มีช่องทางด่วนสำหรับการคัดกรองมะเร็งเต้านม เพื่อให้ประชาชนทั้งหญิงชายเข้าถึงบริการการดูแลสุขภาพเต้านม การให้บริการต่อเนื่องโดยพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติการดูแลสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านมโดยตรง ตลอดจนการจัดทำชมรมผู้ป่วยโรคมะเร็งเพื่อให้ประชาชนเป็นเจ้าของและร่วมกันดูแลสุขภาพซึ่งกันและกัน 3.3 ด้านการจัดการเรียนการสอนในศาสตร์ทางการพยาบาล ควรมีการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษามีความสามารถในการให้บริการที่ตระหนักถึงประเด็นเพศภาวะ หรือที่เรียกว่าบริการที่มีความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะเพื่อให้สตรีเข้าถึงบริการสุขภาพเต้านม
     นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  : ควรมีการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษามีความสามารถในการให้บริการที่ตระหนักถึงประเด็นเพศภาวะ หรือที่เรียกว่าบริการที่มีความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะเพื่อให้สตรีเข้าถึงบริการสุขภาพเต้านม
    บทคัดย่อ
   
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2553
ปีการศึกษา : 2554
ปีงบประมาณ : 2554
วันที่เริ่ม : 19 ต.ค. 2555    วันที่แล้วเสร็จ : 19 ต.ค. 2555
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 0.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 0.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6.48