เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » ข้อมูลลงาน
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: 54015 กระบวนการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับบุคคลที่มีความพิการ:กรณีศึกษาจากเครือข่ายภาคีสุขภาพ
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
ผศ. บุญสืบ  โสโสม หัวหน้าวิจัย
นาง สุจินตนา  พันธ์กล้า ผู้ร่วมวิจัย
นาง ประมวล  ทองตะนุนาม ผู้ร่วมวิจัย
ผศ. สุมาลี  เอี่ยมสมัย ผู้ร่วมวิจัย
นาง วรรณา  ชัยชนะรุ่งเรือง ผู้ร่วมวิจัย
นาย วรวิทย์  ชัยพรเจริญศรี ผู้ร่วมวิจัย
นางสาว อุทัยทิพย์  จันทร์เพ็ญ ผู้ร่วมวิจัย
นาง อรธิรา  บุญประดิษฐ์ ผู้ร่วมวิจัย
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   มีหลักฐานการศึกษาวิจัยในประเทศไทยที่พบว่าจำนวนคนพิการมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายการควบคุมการขับรถขณะมึนเมา และการบังคับใช้หมวกและเข็มขัดนิรภัยไม่ประสบผลสำเร็จ และมีหลักฐานที่พบว่าจำนวนการเกิดอุบัติเหตุจากการจราจรบนท้องถนนเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงวันหยุดเทศกาลที่สำคัญ (กาญจนีย์ ดำนาคแก้ว, 2548; สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ, 2551) ตลอดจนการมีหลักฐานยืนยันว่ายิ่งผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้นยิ่งมีแนวโน้มของการมีภาวะทุพพลภาพเพิ่มขึ้น (คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ, 2544; วรรณภา ศรีธัญรัตน์ และคณะ, 2545; สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล, 2545; สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2546) ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ.2020 สาเหตุการตายในทุก 10 คนจะมีคนเสียชีวิตด้วยสาเหตุจากความพิการจำนวน 7 คน (World Health Organization, 2003) ดังนั้นแนวคิดสำคัญเพื่อป้องกันการเกิดความพิการในอนาคตคือ การสร้างเสริมสุขภาพที่ต้องดำเนินการทั้งในคนปกติและคนพิการ แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) ได้ถูกนำมาใช้ในระบบบริการสุขภาพที่หลากหลายความหมาย โดยความหมายที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกคือ ความหมายตามกฎบัตรออตตาวาที่กล่าวถึงการสร้างเสริมสุขภาพว่า “เป็นกระบวนการทางสังคม และการเมืองที่มิได้มุ่งแต่การดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างทักษะและความสามารถส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทางสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจเพื่อลดผลกระทบที่มีต่อสุขภาพของสาธารณชน และบุคคล การสร้างเสริมสุขภาพเป็นกระบวนการสร้างเสริมศักยภาพของบุคคลให้สามารถควบคุมตนเองและสร้างเสริมสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้นได้” (WHO, 1986) สำหรับความหมายของการสร้างเสริมสุขภาพตามมิติทางสังคมและวัฒนธรรมนั้นให้ความหมายว่า การสร้างเสริมสุขภาพคือ วิถีของการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลาง ด้วยหลักการของการเรียนรู้จากการกระทำ (Learning by doing หรือ interactive learning through action) เปิดโอกาสให้บุคคลมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการคิดวิเคราะห์ ฝึกทักษะในการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการกลุ่ม และใช้การสานเสวนา (dialogue) เป็นพื้นฐาน ที่นำไปสู่ผลลัพธ์สุดท้ายคือ ทำให้บุคคลรู้จักตนเอง ยอมรับผู้อื่น พัฒนาทักษะการแก้ปัญหา มีความตระหนัก ซึ่งสามารถประเมินได้จากคำพูด และการแสดงว่าบุคคลที่มีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพมีศักยภาพในตนเองที่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ (นิตย์ ทัศนิยม, 2545) เมื่อพิจารณาหลักฐานการวิจัยที่มีอยู่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพพบว่าแนวคิดสำคัญที่นำมาใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพคือ การสร้างเสริมพลังอำนาจให้กับคนพิการ ผู้ดูแล บุคคลในครอบครัว และชุมชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการพัฒนาคนพิการ ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้พิการคือ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากความพิการ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน แผลกดทับ ความเจ็บปวด ภาวะเหนื่อยล้าและภาวะซึมเศร้า (Rimmer, 1999; Frey & Temple, 2008; Rimmer, 2008) นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่ยืนยันว่าการสร้างเสริมสุขภาพคนพิการนั้นต้องสามารถตอบสนองมิติด้านวัฒนธรรม การเมือง และทรัพยากรโดยใช้บุคคลเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา (Frey & Temple, 2008) อย่างไรก็ตาม Rycroft-Malone และคณะ (2004) วิจารณ์ความรู้จากการปฏิบัติที่เป็นเลิศว่าหากรับมาใช้ทันทีอาจนำไปสู่การละเลยต่อตัวตนที่เป็นเจ้าของชีวิตของทั้งผู้รับบริการ และผู้ให้บริการสุขภาพ และถูกตั้งคำถามด้านจริยธรรมในการให้บริการสุขภาพ เพราะในบางครั้งความรู้ที่เกิดจากการผลิตด้วยวิธีการนี้อาจไม่เหมาะกับประสบการณ์ของทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ สิ่งที่นำมาปฏิบัติต้องคำนึงถึงค่านิยมของผู้ปฏิบัติงานร่วมกับความรู้จากหลักฐานการปฏิบัติที่เป็นเลิศด้วยจึงจะสามารถให้บริการที่มีคุณภาพได้ จากแนวคิดดังกล่าวคณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาบริการสร้างเสริมสุขภาพ ร่วมกับ เทศบาลตำบล พุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองคณฑี ตำบลพุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยพื้นที่นี้รับผิดชอบประชากรจำนวน 7,270 คน มีคนพิการจำนวน 102 คน คิดเป็นร้อยละ 1.4 ของประชากรทั้งหมดโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการดำเนินการวิจัย การวิจัยเชิงปฏิบัติการเป็นที่ยอมรับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับพัฒนาบุคคลเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความรู้และการปฏิบัติที่ยอมรับค่านิยมของผู้ปฏิบัติการดูแล และผู้รับบริการ ตามระเบียบวิธีวิทยาการวิจัยเชิงปฏิบัติการ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยประกอบด้วยบุคคล 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายที่ 1 คือ ผู้วิจัย ฝ่ายที่ 2 คือ ผู้ร่วมวิจัย และฝ่ายที่ 3 คือผู้รับประโยชน์จากการพัฒนา (Burgess, 2006) โดยหลักการนี้เองสำหรับการวิจัยครั้งนี้จึงมีเป้าหมายในการพัฒนาผู้ร่วมวิจัยซึ่งเป็นฝ่ายที่ 2 คือ ผู้ให้บริการสุขภาพ อาสาสมัครดูแลคนพิการ และฝ่ายที่ 3 คือ คนพิการและผู้ดูแล ด้วยหลักฐานความรู้ดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้จึงต้องการพัฒนาผู้ให้บริการสุขภาพด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ยังต้องการพัฒนาให้เกิดความต่อเนื่องจนกระทั่งเกิดความยั่งยืนของการพัฒนา
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    2.1 เพื่อศึกษาสถานการณ์ของการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับคนพิการ กรณีศึกษาคนพิการตำบลพุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 2.2 เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับบุคคลที่มีความพิการที่เกิดจากการมีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยและเครือข่ายบริการสุขภาพคนพิการ ได้แก่ ภาคีเครือข่ายบริการสุขภาพบุคคลที่มีความพิการ ได้แก่ ชมรมผู้สูงอายุตำบลพุกร่าง ศูนย์การศึกษานอกระบบ บริษัทปูนซิเมนต์เอเชียจำกัด เทศบาลตำบลพุกร่าง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองคณฑี สถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่งทับกวาง และโรงพยาบาลพระพุทธบาท 2.3 เพื่อค้นหาผลลัพธ์ของกระบวนการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับบุคคลที่มีความพิการที่เกิดจากการมีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยกับภาคีเครือข่ายบริการสุขภาพ ได้แก่ 2.3.1 ผลลัพธ์ของการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพที่มีต่อบุคคลที่มี ความพิการ ได้แก่ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ให้บริการสุขภาพ อาสาสมัครดูแลคนพิการ บุคคลที่พิการ และผู้ดูแลคนพิการ 2.3.2 ผลลัพธ์ที่แสดงปัจจัยของความสำเร็จ และอุปสรรคของการพัฒนาชุมชนด้าน สร้างเสริมสุขภาพสำหรับบุคคลที่มีความพิการ
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ศึกษา ณ สถานบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองคณฑี ตำบลพุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 – กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    ผลการพัฒนาทำให้เกิดการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการที่ใช้ชุมชนเป็นฐานที่มีภาคีเครือข่ายบริการจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งนี้ผู้ให้บริการหลักที่มีอยู่ในชุมชนคือ อพมก.ที่เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด และเป็นบริการที่สอดคล้องกับวิถีทางสังคมของชุมชน โดยสามารถจำแนกบทบาทของ อพมก.
    บทคัดย่อ
   
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2554
ปีการศึกษา : 2555
ปีงบประมาณ : 2555
วันที่เริ่ม : 1 ธ.ค. 2554    วันที่แล้วเสร็จ : 19 ต.ค. 2555
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 0.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 50,000.00 บาท สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ
รวมจำนวนเงินทุน 50,000.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6.48