บุญสืบ โสโสม, วรวิทย์ ชัยพรเจริญศรี, อรธิรา บุญประดิษฐ์, อุทัยทิพย์ จันทร์เพ็ญ, โยธิน ปอยสูงเนิน, สุนทรี สิทธิสงคราม, นฤมล จันทรเกษม, (2555). รายงานวิจัยเรื่อง ประสบการณ์ของนักศึกษาพยาบาลในการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ที่มีความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะสำหรับบุคคลในช่วงวัยต่างๆ. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท. สถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุข.
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลในการฝึกปฏิบัติการบูรณาการการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ที่มีความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะสำหรับบุคคลในช่วงวัยต่างๆ โดยใช้การวิจัยเชิงชาติพันธ์วรรณนาแบบเร่งด่วน (rapid ethnographic study) เก็บข้อมูลจากนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท จำนวน 82 คน ที่ปฏิบัติงานให้บริการสุขภาพในรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันความเจ็บป่วยศึกษาระหว่าง มิถุนายน ตุลาคม 2555 เก็บข้อมูลแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วมบันทึกภาคสนามระหว่างการประชุมปรึกษา และสนทนากลุ่มหลังจากการเรียนการสอนสิ้นสุดลงวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ ความเข้มงวดของการวิจัยและความน่าเชื่อถือได้ของการวิจัยใช้วิธีให้นักศึกษาพยาบาลยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่คณะผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าการสร้างเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ที่มีความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะประกอบด้วยประการแรกคือการสร้างสัมพันธภาพจนกระทั้งผู้รับบริการให้การยอมรับว่านักศึกษาเสมือนกับการเป็นญาติคนหนึ่งของผู้รับบริการประการที่สองคือ การใช้ความอ่อนน้อมถ่อมตน ประการที่สามคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ดีขึ้นด้วยวิธีการสะท้อนคิดและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประการสุดท้ายคือการใช้แนวคิดของการดูแลที่มีความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะเพื่อส่งเสริมให้พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนดีขึ้นนอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่าปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพของประชาชนทุกช่วงวัยดีขึ้นได้แก่การดูแลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม และทรรศนะทางเพศของประชาชน ได้แก่ บาทบาทหญิงชาย (genderrole) และ อัตลักษณ์ทางเพศของหญิงชาย (gender identity) ในทางตรงกันข้ามสำหรับการดูแลวัยผู้ใหญ่ วัยกลางคนและวัยสูงอายุพบว่านักศึกษาใช้แนวคิดของบทบาทหญิงชายและการแบ่งงานกันทำระหว่างหญิงชายประยุกต์ใช้ในโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ อีกทั้งนักศึกษายังให้ความหมายของกานำความเท่าเทียมของของหญิงชาย(gender equality) มาใช้ในการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพว่า หมายถึงการที่หญิงชายได้รับการส่งเสริมสุขภาพที่เหมือนๆ กัน ข้อดีของการฝึกปฏิบัติในครั้งนี้คือ การเรียนรู้เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพทักษะทางปัญญา และการคิดวิเคราะห์ ข้อด้อยของการฝึกปฏิบัติครั้งนี้คือนักศึกษาให้ความหมายของความสัมพันธ์เชิงอำนาจหญิงชายมีความหมายเดียวกับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันของสมาขิกหญิงชายในครอบครัว ผลการวิจัยให้ข้อเสนอแนะว่าควรนำขั้นตอนของการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ที่มีความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะมาใช้อาจารย์ผู้สอนควรสะท้อนคิดความเข้าใจของนักศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดความเท่าเทียมกันของหญิงชายและแนวคิดความสัมพันธ์ของบทบาทหญิงชายที่เป็นความหมายที่ถูกต้องที่นำมาใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนได้จริง Sosome B., Chaipornjaroensri W.,Boonpradit O., Janpen U., Poysongnern Y., Sithisongkram S., Jankasme N. Nursing Students Perceptionof Health Promotion Practicing to Integrate Gender Sensitive and Humanized Carefor People Each Stage of Life. Boromarajonani College of NursingPraputhabat, Praboromarajachanok Institute for Workforce Development. Ministryof Public Health.
Abstract This study aimed to illustratenursing students perception of health promotion practicing to integrate gendersensitive and humanized care for people each stage of life. A rapidethnographic study was conducted among participants, 82 secondyear nursing students, practicing 4 weeks in health promotion and healthprevention disease course of BoromarajonaniCollege of Nursing, Phraputtabaht, Saraburi Province, during June- October2012. Data collected fromparticipation observation, field note during pre-post conference, and focusgroup discussion after finish course. Thematically analysis qualitative data,rigorous and trustworthiness confirmed with participants. Findingsshowed that the practicing gender - sensitive health promotion with humanizedcare were including, firstly made relationship until client closely acceptlikely relative person, secondly courteously approached, thirdly usingreflection and sharing knowledge to improve behavioral modification, and lastlyutilized gender lens to encourage quality of health behaviors. Furthermore,they found that key successes for facilitate improving health behaviors of allage were employed relevantly cultural and gender perspective particularlygender role, and gender identity. In contrast for promote health of adult,midlife, and elderly, they used gender role and gender divisions of labor forapplying their health promotion programs. Additionally,they addressed that gender equality was defined as men and women need the sameservices of health promotions. They perceived that advantages of this practicewere technique for making the relationship, cognitive skills, and analyticalthinking. Disadvantage were they assumed that the meaning of gender powerrelation similar to an intimate relationship. This findings recommendationthat the process of humanistic and gender sensitive approach were benefit for nursing students to perform their health services.Nurse instructors should be reflected the concepts of gender equality andgender power relation to develop their understanding to meet the essentiallymeanings with used for health promotion. |