เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » ข้อมูลลงาน
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: 55009 การรับรู้แนวคิดการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
ผศ. ปัฐยาวัชร  ปรากฎผล หัวหน้าวิจัย
กลุ่มสาขาวิชาการ : พยาบาลศาสตร์
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   

ตามที่สถาบันพระบรมราชชนก และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท           ได้กำหนดอัตลักษณ์ของบัณฑิต คือการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ซึ่งหมายถึงการให้บริการที่เป็นมิตร มีความรัก ความเมตตา ใส่ใจในปัญหาและความทุกข์ของผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง ให้บริการตามปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการที่เป็นจริง  โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้รับบริการเป็นหลัก การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีอัตลักษณ์การให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์นั้น จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยนำเข้า กระบวนการจัดการเรียนการสอน และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มากมาย โดยผู้วิจัยพิจารณาเห็นว่านักศึกษาและกระบวนการจัดการเรียนการสอนเป็นปัจจัยนำเข้าที่สำคัญที่สุดในการทำให้บรรลุตามอัตลักษณ์ที่ได้กำหนดไว้ ทั้งนี้ได้มีผู้กำหนดและให้ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ไว้อย่างหลากหลาย เช่นการพยาบาลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ การดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น

นายแพทย์ประเวศ วะสี (2550) กล่าวว่า Humanized health care หมายถึง การให้บริการด้วยความเอาใจใส่ ประดุจญาติมิตร ร่วมกันกับผู้ป่วยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ก่อให้เกิดความสุขใจทั้งผู้ให้และผู้รับ

สมจิตร หนุเจริญกุล (2552) กล่าวว่าการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ถือเป็นปรัชญาพื้นฐานของการพยาบาลที่มีมานับตั้งแต่สมัยฟลอเร็นไนติงเกล โดยความหมายของการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ คือการฟื้นหายแบบองค์รวม ด้วยการทำให้ผู้ป่วยตระหนักว่า แพทย์ พยาบาลเห็นใจ เข้าใจในความทุกข์ของผู้ป่วย ปฏิบัติกับผู้ป่วยด้วยความเป็นมิตร และมีเมตตาธรรมร่วมกับการรักษาพยาบาลด้วยความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์และการพยาบาล บนฐานความเชื่อมั่นที่ว่า ความทุกข์ของผู้ป่วยเป็นส่วนหนึ่งที่เกิดจากความรู้สึกกังวล กลังการสูญเสีย รู้สึกโดดเดี่ยว อ้างอ้าง ดังนั้นการให้ผู้ป่วยได้มีการติดต่อสื่อสารและได้รับการปฏิบัติด้วยความเห็นใจ เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  จะช่วยให้ฟื้นหายจากความเจ็บป่วยได้

นายแพทย์สุริยะ วงศ์คงคาเทพ (2553) กล่าวว่าหัวใจความเป็นมนุษย์ ไม่ต้องการแบบแผน ไม่มีรูปแบบขั้นตอน แต่เป็นการกระทำที่ออกมาจากใจตนเอง ที่ได้จากการเรียนรู้และเข้าใจชีวิตจริงของผู้อื่น ทั้งความรู้สึกนึกคิด ความจำเป็นในชีวิตจริง การงาน ครอบครัว รวมถึงชุมชนที่เขาอยู่ที่ค่อนข้างซับซ้อนเต็มไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย

          นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (2552) กล่าวว่าการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ หมายถึงการที่ให้การรักษาพยาบาลโดยบูรณาการสุขภาพกับความเป็นมนุษย์เชื่อมโยงมิติทางสังคม อ่อนโยนต่อชีวิต อ่อนน้อมต่อธรรมชาติ มีความเป็นกัลยาณมิตรระหว่างผู้ดูแลรักษากับคนป่วยแนวคิดแนวคิด การบริบาลที่ใส่ใจต่อความเป็นมนุษย์นั้นบุคลากรทางการแพทย์ควรให้การดูแลผู้ป่วยในฐานะมนุษย์  และมีมุมมองว่าสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของศีลธรรมทางสังคม  ความเจ็บป่วยเป็นโอกาสของมนุษยธรรม การร่วมทุกข์นำไปสู่การแสวงหา ความดีมีสรรพคุณเยียวยาความทุกข์ได้  เกิดแก่เจ็บตายกับความหมายของชีวิต  และเทคโนโลยีในฐานะเครื่องมือของมนุษย์

นอกจากนี้แล้วยังมีผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการบริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์  ได้แก่การฟังเรื่องเล่า การเสริมพลังอำนาจให้กับผู้ป่วย การฟังอย่างตั้งใจ แสดงถึงการเคารพประสบการณ์ชีวิต และความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วยและของผู้ให้บริการสุขภาพ มีระบบสุขภาพที่เอื้อต่อการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (สมจิตร หนุเจริญกุล, 2552) นอกจากนี้แล้ว นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (2552) ได้บอกถึงแนวทางการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยการขยายกรอบแนวคิดเรื่องสุขภาพ ที่เน้นการดูแลรักษาทั้งโรค ความเจ็บป่วย และความทุกข์ โดยอาศัยการเรียนรู้จากเรื่องเล่าและเรื่องราวชีวิต แสวงหาโอกาสทำงานกับคนทุกข์ยาก มีความละเอียดอ่อนต่อมิติทางสังคมวัฒนธรรม ส่งเสริมการเรียนรู้อุดมคติของชีวิต สร้างวัฒนธรรมจิตอาสาเพื่อการขัดเกลาตนเอง และปรับระบบงานและการจัดการให้เอื้อต่อการเรียนรู้”

                ดังนั้นในฐานะอาจารย์ประจำวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท ที่มีภารกิจในการจัดการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมเสริมในและนอกหลักสูตร เพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีคุณลักษณะของการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรับรู้ว่าผู้เรียนมีการรับรู้หรือมีการให้ความหมายของคำว่าการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เป็นอย่างไร ตรงกับที่วิทยาลัยฯ ได้กำหนดไว้หรือไม่ มีวิธีการอย่างไรที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนได้บรรลุตามอัตลักษณ์ที่ตั้งไว้ ทั้งในบทบาทของผู้เรียน อาจารย์ วิทยาลัยฯ และสถาบันแหล่งฝึก เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจากนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-4 ในครั้งนี้ มาใช้ประโยชน์การพัฒนานักศึกษาให้มีอัตลักษณ์ในการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สมดังเจตารมณ์ของสถาบันที่ได้ตั้งไว้
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
   

เพื่อสำรวจการรับรู้แนวคิดการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ คุณลักษณะของผู้ให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และวิธีการในการทำให้นักศึกษามีอัตลักษณ์ของการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    นำผลการศึกษาที่ได้รับมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีอัตลักษณ์การให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
    บทคัดย่อ
   
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2554
ปีการศึกษา : 2555
ปีงบประมาณ : 2555
วันที่เริ่ม : 1 ต.ค. 2554    วันที่แล้วเสร็จ : 30 ก.ย. 2555
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 20,000.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 20,000.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6.48