เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » ข้อมูลลงาน
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: 52004กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เรื่อง การพยาบาลมารดา ทารกที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะตั้งครรภ์
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
ผศ. บุญสืบ  โสโสม หัวหน้าวิจัย
กลุ่มสาขาวิชาการ : พยาบาลศาสตร์
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   แนวคิดพื้นฐานสำหรับการสอนอีกแนวคิดหนึ่งคือ แนวคิดการมีส่วนร่วม (participation) ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยการใช้กระบวนการทางปัญญา และเรียนรู้ตามสภาพจริงได้ ทั้งนี้เป็นที่ยอมรับว่าศาสตร์ความรู้ทางสังคมเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ การมีส่วนร่วมเป็นบ่อเกิดของความรู้ (way of knowing) ในศาสตร์ทางสังคม เพราะการมีส่วนร่วมเป็นทั้งญาณวิทยา (epistemology) นิเวศวิทยา และรวมถึงความสำคัญทางจิตวิญญาณ (Reason, 2004) ด้วยแนวคิดดังกล่าวผู้วิจัยจึงเชื่อว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนมีรากฐานมาจากแนวคิดการมีส่วนร่วมที่เป็นพื้นฐานสำคัญของความสัมพันธ์ฉันกัลยาณมิตร สามารถนำมาสู่การจัดการเรียนการสอนเพื่อบรรลุความคาดหวังของหลักสูตรที่มีต่อนักศึกษาเองที่เรียนในวิชานี้ได้อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาแนวคิดการสอนแบบร่วมมือกันเรียนพบว่าเป็นเพียงการให้แนวคิดเท่านั้น แต่หากพิจารณาตามแนวคิดของ Whitehead (1989) แล้ว ความรู้ที่อยู่เบื้องต้นเป็นเพียงทฤษฎีตั้งต้นที่เป็นพื้นฐานของการนำไปสู่การปฏิบัติเท่านั้น แต่เมื่อเข้าสู่การปฏิบัติการสอนจริงผู้สอนต้องพัฒนาตนเองเพื่อค้นหาทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเอง และพัฒนาการสอนของตนเองให้ดีขึ้นด้วย ผู้สอนต้องค้นหาคำตอบให้ได้ว่า ผู้สอนพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นอย่างไร จากทฤษฎีหรือค่านิยมที่ตนเองนำมาสอน ผู้สอนมีความพยายามพัฒนาค่านิยมที่ตนเองต้องการปฏิบัติอย่างไร การสะท้อนคิดอย่างเป็นระบบของผู้สอนต่อกระบวนการเรียนการสอนทำให้เกิดการหยั่งรู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับได้ว่าเป็นการพัฒนากลวิธีการให้ความรู้อย่างไร ทั้งนี้ Whitehead (1989) กล่าวว่าทฤษฎีการให้ความรู้ (educational theory) ที่เกิดขึ้นควรสร้างมาจากปัญหาเฉพาะของบุคคลแต่ละคนเป็นหลัก และมาจากคำถามหลักที่ว่า ผู้สอนปฏิบัติทฤษฎีที่ตนสนใจศึกษาให้ดีขึ้นได้อย่างไร และผู้สอนพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้ดีขึ้นอย่างไร ด้วยคำถาม และหลักการนี้เองจึงเป็นสิ่งที่ท้าทายว่าผู้วิจัยสามารถนำแนวคิดดังกล่าวข้างต้นนำมาสู่การจัดการเรียนการสอนจริงในวิชาการพยาบาลมารดาทารก และการผดุงครรภ์ 2 อย่างไรที่ชี้ให้เห็นว่าผู้สอนดำรงตนอย่างไรระหว่างการสอน ผู้สอนพัฒนาตนเองอย่างไรซึ่งท้ายที่สุดจะได้ทฤษฎีการให้ความรู้ที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการปฏิบัติ ด้วยความเชื่อข้างต้น การออกแบบการวิจัยที่สอดรับกับการพัฒนาทั้งผู้สอน และผู้เรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ที่แท้จริงคือ การวิจัย เชิงปฏิบัติการ (action research) ซึ่งเป็นการวิจัยความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล (personal knowledge) ที่เรียกว่า living action research ที่เป็นงานวิจัยที่ให้ความสนใจกับพัฒนาผู้สอนจากการสะท้อนคิดของผู้สอนเองต่อค่านิยมที่นำไปสู่การจัดการเรียนการสอน โดยมีเป้าหมายคือ เพื่อให้ผู้สอนเองเข้าใจตนเอง เป็นการพัฒนาทั้งการสอน และวิธีการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอนที่เป็นนักวิจัยกับผู้เรียนที่เป็นนักศึกษา ถึงแม้ว่าความรู้ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจะเป็นความคิดของผู้วิจัยเพียงคนเดียว แต่มีความสำคัญว่าบุคคลนำทฤษฎีความรู้มาสู่การปฏิบัติที่สะท้อนการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองได้อย่างไร เพราะหากวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของทฤษฎีความรู้ต่าง ๆ แล้วล้วนเกิดจากความคิดใหม่ ๆ ของบุคคลที่เกิดจากความสงสัย และปฏิเสธทฤษฎีความรู้ของฐานคิดที่มีอิทธิพลครอบงำสังคมที่มีอยู่ก่อน (Whitehead, 1989) ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเป็นความพยายามของผู้วิจัยที่ต้องการสะท้อนภาพของการพัฒนาการเรียนการสอนที่ไม่ใช่เพียงเป็นการพัฒนาผู้เรียน แต่เป็นการพัฒนาผู้สอนไปพร้อม ๆ กัน
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    1 เพื่อศึกษากระบวนการให้ความรู้ (educational process) โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนในการสอนเรื่อง “กระบวนการพยาบาลมารดา และทารกที่มีภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากการตั้งครรภ์” ของผู้วิจัย2 เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ใช้แนวคิดการการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนในการสอนเรื่อง “กระบวนการพยาบาลมารดา และทารกที่มีภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากการตั้งครรภ์”
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    การศึกษานี้เป็นการศึกษา ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท เป็นการวิจัยในชั้นเรียน ทำการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ศึกษาระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน พ.ศ.2551
     นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  : ผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนรายบท “การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดา และทารกที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์” ที่เป็นผลจากการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนนี้พบว่า นักศึกษาที่เรียนด้วยวิธีนี้มีสมรรถนะด้านวิชาชีพดังที่นักศึกษาสะท้อนว่า “วินิจฉัยแยกโรคได้ เข้าใจเรื่องโรคมากขึ้น สามารถรู้หลายโรครวมกัน” “จำเนื้อหาที่ค้นคว้าได้ เข้าใจมากขึ้น” และยังพบว่านักศึกษาเกิด สมรรถนะด้านการพัฒนาจิตสำนึกด้านการเรียน ค้นพบตัวเองเกี่ยวกับการเรียนรู้ ใฝ่รู้ กระตือรือร้น ได้ค้นคว้างานจาก internet ประทับใจ ภูมิใจในตนเอง ประทับใจเพื่อน ได้ทำงานเป็นทีม ได้รับคำชม และประทับใจอาจารย์ ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับการศึกษาของของ Baumberger-Henry (2005) ที่พบว่านักศึกษาที่เรียนด้วยวิธีการนี้มีการรับรู้อัตมโนทัศน์ (self-concept) ของตนเองดีขึ้น เข้าใจเนื้อหาการเรียนมากขึ้น และ ผลของการศึกษานี้ยังสอดคล้องกับการศึกษา Lai & Wu (2006) ที่พบว่าการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนสามารถส่งเสริมทัศนคติที่ดีของนักศึกษาที่มีต่อการเรียน และยังส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างนักศึกษาด้วยกัน และสัมพันธภาพที่ดีระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ และสอดคล้องกับการวิจัยของ Bertucci & Johnson and Johnson (2010) ที่พบว่านักศึกษามีการรับรู้ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสูงขึ้น
    บทคัดย่อ
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กระบวนการให้ความรู้ (educational process) และผลลัพธ์ของการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนในการสอนเรื่อง “กระบวนการพยาบาลมารดา และทารกที่มีภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากการตั้งครรภ์” โดยใช้วิธีการวิจัย เชิงปฏิบัติการดำเนินการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยบันทึกเทปผู้สอนระหว่างทำการสอน บันทึกภาคสนาม สนทนากลุ่ม และบันทึกการเรียนรู้ของนักศึกษา จำนวน 71 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัยกระบวนการสอนประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะแรกคือ ระยะเตรียมการสอน อาจารย์ผู้สอนมีบทบาทในการเตรียมนักศึกษาจัดหาอุปกรณ์ประกอบการเรียน ระยะที่สอง เป็นระยะจัดกิจกรรมการเรียนการสอน อาจารย์มีบทบาทในการสนับสนุนการเรียนการสอนมอบหมายงานกลุ่มให้กับนักศึกษา ให้นักศึกษาสร้างคำสำคัญลงในแผนที่ความคิดเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ จับเวลาให้นักศึกษาเติมคำสำคัญลงในช่องว่างของแผนที่ความคิด และระยะที่สาม ระยะการประเมินผลการสอน ใช้วิธีการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาจากการบันทึกการเรียนรู้ การทำข้อสอบแบบ Short answer items โดยให้นักศึกษาช่วยกันค้นหาคำตอบ
ผลลัพธ์ของการสอนพบว่านักศึกษามีสมรรถนะด้านวิชาชีพ สามารถวินิจฉัยแยกโรคภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ได้ จำเนื้อหาที่ค้นคว้าได้ และพบว่านักศึกษาได้รับการพัฒนาจิตสำนึกด้านการเรียน ใฝ่รู้ กระตือรือร้น ได้ทักษะการค้นคว้าความรู้จาก internet สามารถแปลหนังสือเรียนที่ให้ค้นเป็นภาษาอังกฤษได้ สัมพันธภาพระหว่างเพื่อน และอาจารย์ดีขึ้น
ผลการศึกษานี้สรุปได้ว่าวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนหัวข้อนี้ได้ โดยอาจารย์ผู้สอนต้องมีความเชี่ยวชาญในเนื้อหา โดยสามารถให้คำปรึกษากับนักศึกษาได้
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2551
ปีการศึกษา : 2550
ปีงบประมาณ : 2551
วันที่เริ่ม : 1 มิ.ย. 2551    วันที่แล้วเสร็จ : 31 มี.ค. 2551
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 17,345.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 17,345.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6.48