เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » ข้อมูลลงาน
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: 53010ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ต่อความเครียดในการฝึกปฏิบัติงานวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี พระพุทธบาท
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
นางสาว มาลินี  บุญเกิด ผู้ร่วมวิจัย
นาย สราวุฒิ  สีถาน หัวหน้าวิจัย
กลุ่มสาขาวิชาการ : พยาบาลศาสตร์
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   วิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล เป็นวิชาแรกของจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตที่จัดให้นักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติงาน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ ส่งเสริมให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการพยาบาล และดูแลแบบองค์รวมแก่บุคคลทุกช่วงวัยของชีวิต ในสถานการณ์จริงบนพื้นฐานทฤษฎีการดูแลอย่างเอื้ออาทร ดังนั้นการออกแบบการจัดการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญเพื่อตอบสนองต่อปรัชญาของหลักสูตรและคำอธิบายรายวิชาของหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนในวิชาชีพการพยาบาล ของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2552) มีความเชื่อ 4 ด้าน ได้แก่ การพยาบาล สุขภาพ การเรียนการสอน และบัณฑิตพยาบาล โดยด้านการพยาบาลมีความเชื่อว่า เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลกับประชาชน ในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันการเจ็บป่วยในผู้ที่มีภาวะสุขภาพปกติ ให้การดูแลและการฟื้นฟูสภาพผู้ที่เจ็บป่วยแบบองค์รวม โดยยึดหลักสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บนพื้นฐานการดูแลอย่างเอื้ออาทร คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ โดยคำนึงถึงความเป็นปัจเจก มีคุณค่า มีศักดิ์ศรี มีศักยภาพ มีอิสระในการเลือก การตัดสินใจ มีสิทธิได้รับการดูแลอย่างเสมอภาค (ส่วนพัฒนาการศึกษา สถาบันพระบรมราชชนก, 2552)
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    เพื่อเปรียบเทียบระดับความเครียดก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานในวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลของนักศึกษา หลักสูตรพยาบาลบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2553
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบ One group pre-post test design โครงการวิจัยได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือเลือกนักศึกษาพยาบาล ศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2553 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท จำนวน 77 คน
     นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  : ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเครียดในภาพรวม หลังเข้าร่วมโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ข้อค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่า นักศึกษาที่เข้าร่วมโปรแกรม สามารถที่จะเผชิญและลดความเครียดจากการฝึกปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสามารถอภิปรายผลได้ดังนี้ ระดับความเครียดของนักศึกษาด้านสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษาและผู้ร่วมงาน ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับมาก ส่วนหลังเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับมาก แต่มีความแตกต่างกันเนื่องจากในการเรียนการเรียนการสอนทางการพยาบาลนั้น ต้องมีการติดต่อสื่อสารและการประสานงานระหว่างทีมสหวิชาชีพและผู้ร่วมวิชาชีพที่ไม่เคยร่วมงานกัน ไม่คุ้นเคย ส่งผลให้เกิดความเครียด ซึ่งผลจากการเรียนรู้ที่เน้นสภาพจริงบนหอผู้ป่วย เกี่ยวกับลักษณะการปฏิบัติงาน การสื่อสารและการประสานงาน ซึ่งทำให้นักศึกษาได้เห็นและสัมผัสกับสภาพจริงบนหอผู้ป่วย ส่งผลให้ระดับความเครียดลดลง ระดับความเครียดของนักศึกษาด้านบุคลิกภาพของอาจารย์นิเทศและสัมพันธภาพระหว่างอาจารย์นิเทศกับนักศึกษา ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับมาก ส่วนหลังเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อทดสอบด้วยสถิติพบว่าระดับของการมีนัยสำคัญน้อยกว่าความเครียดด้านอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะ ในการฝึกภาคปฏิบัติต้องให้การพยาบาลกับผู้ป่วยจริง อาจารย์นิเทศต้องมีความเข้มงวดเกี่ยวกับกับความรู้ทักษะปฏิบัติของนักศึกษาเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้บริการ จึงอาจมีผลทำให้นักศึกษาเกิดความกลัวและไม่กล้าแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์ ส่งผลให้เกิดความเครียด ซึ่งผลจากการเตรียมความพร้อมของอาจารย์นิเทศเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอน บุคลิกภาพอาจารย์นิเทศ และสัมพันธภาพระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับความคิด ความรู้สึกของนักศึกษา ส่งผลให้นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็นและปรึกษา ระดับความเครียดของนักศึกษาด้านสถานที่และอุปกรณ์ในแหล่งฝึก ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับมาก ส่วนหลังเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้เพราะ การฝึกปฏิบัติงานต้องมีการหมุนเวียนแหล่งฝึกและต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีความซับซ้อน ซึ่งผลจากการเรียนรู้ที่เน้นสภาพจริงบนหอผู้ป่วย เกี่ยวกับศึกษาดูงานในแหล่งฝึกแผนกต่างๆ และการใช้งานของอุปกรณ์บนหอผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจและคุ้นเคยกับอุปกรณ์และแหล่งฝึก ระดับความเครียดของนักศึกษาด้านสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับผู้ใช้บริการ ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับมาก ส่วนหลังเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้เพราะ การฝึกปฏิบัติงานต้องมีการสื่อสารและปฏิบัติการพยาบาลกับผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นบุคคลแปลกหน้า ส่งผลให้เกิดความเครียด ซึ่งผลจากการเรียนรู้ที่เน้นสภาพจริงบนหอผู้ป่วย เกี่ยวกับ ทักษะการสื่อสารและการเก็บรวบรวมข้อมูล ส่งผลให้นักศึกษากล้าที่จะพูดคุยกับผู้รับบริการมากขึ้น ระดับความเครียดของนักศึกษาด้านการฝึกปฏิบัติทักษะทางการพยาบาล ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับมาก ส่วนหลังเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้เพราะ ทักษะปฏิบัติทางการพยาบาลเป็นหลักการและเทคนิค ซึ่งมีความละเอียดอ่อนสำหรับผู้ปฏิบัติ ต้องอาศัยการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ ส่งผลให้เกิดความเครียดและรู้สึกไม่ชอบในวิชาชีพ ซึ่งผลจากการสร้างเจตคติที่ดีต่อการฝึกปฏิบัติงาน และการฝึกปฏิบัติทักษะทางการพยาบาล โดยระบบพี่เลี้ยง ส่งผลให้นักศึกษาเกิดความเชื่อมั่นในการฝึกปฏิบัติงาน มีความภาคภูมิใจในวิชาชีพ ระดับความเครียดของนักศึกษาด้านวิธีการสอนของอาจารย์ภาคทฤษฎีและภาคทดลอง ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนหลังเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับปานกลาง แต่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้เพราะ ทักษะการปฏิบัติการพยาบาลของอาจารย์เกิดจากการฝึกฝนจนชำนาญ และเป็นเทคนิคในการปฏิบัติซึ่งอาจมีความแตกต่างกัน แต่ผลลัพธ์ทางการพยาบาลมีเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้นักศึกษาสับสนจนเกิดความเครียด ซึ่งผลจากการสรุปการเรียนรู้ และนำผลสรุปการเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง ช่วยให้นักศึกษามีแนวทางปฏิบัติทักษะทางการพยาบาล และก่อให้เกิดความมั่นใจในการฝึกปฏิบัติ การเรียนการสอนทางการพยาบาลบ่อยครั้งที่ทำให้ให้เกิดความเครียด ดังตัวอย่างที่ได้อภิปรายไว้ข้างต้น ซึ่งการจัดการความเครียดมีหลายวิธี โยคะสมาธิ เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดจากการปฏิบัติงาน ช่วยให้ร่างกายได้ผ่อนคลายทุกส่วน นอกจากนั้นยังสามารถช่วยในการควบคุมสติและสมาธิในการปฏิบัติทักษะทางการพยาบาล ทำให้การปฏิบัติทักษะทางการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ ผลจากการปฏิบัติตามโปรแกรมในงานวิจัยนี้สอดคล้องกับงานวิจัยของ วีรวรรณ ภาษา-ประเทศ (2540) ที่พบว่านักศึกษามีความเครียดอยู่ในระดับมาก เกี่ยวกับอาจารย์ตำหนินักศึกษาต่อหน้าผู้อื่น พยาบาลส่วนมากไม่เป็นกันเองกับนักศึกษา ชอบตำหนินักศึกษาต่อหน้าผู้อื่น และคอยจับผิดนักศึกษา นอกจากนั้นยังสอดคล้องกับการศึกษาของ พัชรินทร์ สุตันตปฤคา (2535) ที่พบว่าสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดในระดับปานกลาง คือ ด้านสิ่งแวดล้อมและบุคคล ทั้งนี้เนื่องจากการขึ้นปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย จำเป็นต้องมีการประสานงานกับทีมสุขภาพ รวมทั้งบรรยากาศในหอผู้ป่วย ความพร้อมของอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตลอดจนความหนักเบาของผู้รับบริการ
    บทคัดย่อ
    วัตถุประสงค์ของการวิจัยกึ่งทดลองนี้ คือ เพื่อเปรียบเทียบระดับความเครียดก่อน และหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานในวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 จำนวน 77 คน ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ศึกษาระหว่างเดือน กรกฎาคม – กันยายน พ.ศ.2553 ประเมินผลโปรแกรมโดยใช้แบบสอบถามความเครียด เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .92 สอบถามก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงาน ผลการศึกษาพบว่า ระดับความเครียดของนักศึกษาหลังเข้าร่วมโปรแกรม ต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย คือ การเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาพยาบาลเป็นสิ่งที่สำคัญ ในการวิจัยต่อไปควรมีกลุ่มควบคุมเพื่อตรวจสอบผลของโปรแกรม
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2553
ปีการศึกษา : 2553
ปีงบประมาณ : 2554
วันที่เริ่ม : 1 มิ.ย. 2553    วันที่แล้วเสร็จ : 30 ก.ย. 2553
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 32,340.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 32,340.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6.48