เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » ตัวบ่งชี้ที่ ๗.๔ ระบบบริหารความเสี่ยง (สกอ ๗.๔)
‹ ย้อนกลับ  
   
องค์ประกอบที่ ๗ การบริหารและการจัดการ  
ตัวบ่งชี้ที่ ๗.๔ ระบบบริหารความเสี่ยง (สกอ ๗.๔)
เกณฑ์มาตรฐาน
๑. 

มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยง โดยมีผู้บริหารระดับสูงและตัวแทนที่รับผิดชอบพันธกิจหลักของสถาบันร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงาน

๒. 

มีการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างน้อย ๓ ด้าน ตามบริบทของสถาบัน จากตัวอย่างต่อไปนี้

- ความเสี่ยงด้านทรัพยากร (การเงิน งบประมาณ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคารสถานที่)

- ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ของสถาบัน

- ความเสี่ยงด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ

- ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน เช่น ความเสี่ยงของกระบวนการบริหารหลักสูตร การบริหารงานวิจัย ระบบงาน ระบบประกันคุณภาพ

- ความเสี่ยงด้านบุคลากรและความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล โดยเฉพาะจรรยาบรรณของอาจารย์และบุคลากร

- ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอก

๓. 

มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ ๒

๔. 

มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง และดำเนินการตามแผน

๕. มีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และรายงานต่อสภาสถาบันเพื่อพิจารณาอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
๖. มีการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป
 
เกณฑ์การประเมิน
 
 
ผลการดำเนินงาน
 
ผู้รับผิดชอบ : 2กนกอรชาวเวียง
ผู้กำกับติดตาม : 2กนกอรชาวเวียง
 

ระบบบริหารความเสี่ยง  วิทยาลัยฯ  ดำเนินการได้ ๖ ข้อ ดังนี้                                                                                   

๑. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยง  โดยมีผู้บริหารระดับสูงและตัวแทนที่รับผิดชอบพันธกิจหลักของสถาบันร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงาน  โดยคณะกรรมการและคณะทำงานการบริหารความเสี่ยง  ประกอบด้วยผู้อำนวยการ  เป็นประธาน  รองผู้อำนวยการ  ผู้ช่วยผู้อำนวยการทุกกลุ่ม/ฝ่าย  เป็นกรรมการ  และหัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์  แผนงานและการประกันคุณภาพการศึกษา  เป็นเลขานุการคณะกรรมการติดตามและกำกับดูแลการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยง  และมีหัวหน้าฝ่ายซึ่งเป็นตัวแทนที่รับผิดชอบพันธกิจหลัก  เป็นคณะทำงานการควบคุมภายใน  และการจัดการความเสี่ยงระดับกลุ่มงาน (๗.๔--๑) รรมการ  และหัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์  แผนงานและการประกันคุณภาพการศึกษายการทุกกลุ่มกรรมการและคณะทำงานการบริหารความเสี่ยง                           

๒. มีการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างน้อย ๓ ด้าน  ตามบริบทของสถาบัน  โดยวิทยาลัยฯ กำหนดความเสี่ยงในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ไว้    ด้าน คือ  ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์  ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน  และ ความเสี่ยงในการบริหารงบประมาณ (๗.๔--๑) ตามคู่มือแนวทางการบริหารความเสี่ยงวิทยาลัยฯ (๗.๔-๒-๒)

๓. มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ ๒  โดยฝ่ายยุทธศาสตร์  แผนงานและการประกันคุณภาพการศึกษา  และคณะทำงานการควบคุมภายใน  และการจัดการความเสี่ยงระดับกลุ่มงาน ดำเนินการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์  ในการปฏิบัติงานของปีงบประมาณ ๒๕๕๓  (๗.๔--๑)                                                                                                              

๔. มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง  และดำเนินการตามแผน  โดยฝ่ายยุทธศาสตร์  แผนงานและการประกันคุณภาพการศึกษา  และคณะทำงานการควบคุมภายใน  ดำเนินการจัดทำคู่มือและแผนบริหารความเสี่ยง  ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๓  และกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยง  (๗.๔--๑ , ๗.๔--๒)

๕. มีการติดตาม  และประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และรายงานต่อสภาสถาบันเพื่อพิจารณาอย่างน้อยปีละ  ๑ ครั้ง  โดยคณะทำงานการควบคุมภายใน  และการจัดการความเสี่ยงระดับกลุ่มงาน  มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง  และรายงานต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ  (๗.๔--๑ , ๗.๔--๒)

. มีการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป  คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากรายงานผลการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ  และมอบหมายรองผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และการพัฒนาคุณภาพ และฝ่ายยุทธศาสตร์ แผนงานและการประกันคุณภาพ  และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง  นำไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีงบประมาณ ๒๕๕๔ (๗.๔-๖-๑)

 
ผลการประเมิน
 
คะแนน อิงเกณฑ์มาตราฐาน บรรลุเป้าหมาย
สบช 5.00 บรรลุ
สกอ 5.00 บรรลุ
สมศ ไม่บรรลุ
 
แนวทางการพัฒนา
 
ฝ่ายยุทธศาสตร์ แผนงานและการประกันคุณภาพการศึกษา ร่วมกับคณะกรรมการและคณะทำงานบริหารความเสี่ยง  พัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงและมีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตามแผนทุกไตรมาส
 
รายการหลักฐาน
 
 
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6.48