เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » ตัวบ่งชี้ที่ ๙.๑ มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายใน (สกอ ๙.๑ )
‹ ย้อนกลับ  
   
องค์ประกอบที่ ๙ ระบบและกลไกลการประกันคุณภาพ  
ตัวบ่งชี้ที่ ๙.๑ มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายใน (สกอ ๙.๑ )
เกณฑ์มาตรฐานทั่วไป
๑. มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของสถาบัน ตั้งแต่ระดับภาควิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่า และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
๒. มีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของสถาบัน
๓. มีการกำหนดตัวบ่งชี้เพิ่มเติมตามอัตลักษณ์ของสถาบัน
๔. มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย ๑) การควบคุม ติดตามการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพ ๒) การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพเสนอต่อสภาสถาบันและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามกำหนดเวลา โดยเป็นรายงานที่มีข้อมูลครบถ้วนตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดใน CHE QA Online และ ๓) การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน
๕. มีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทำงาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ทุกตัวบ่งชี้
๖. มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง ๙ องค์ประกอบคุณภาพ
๗. มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษาผู้ใช้บัณฑิต และผู้ใช้บริการตามพันธกิจของสถาบัน
๘. มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างสถาบัน และมีกิจกรรมร่วมกัน
๙. มีแนวปฏิบัติที่ดีหรืองานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่หน่วยงานพัฒนาขึ้น และเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์
 
เกณฑ์การประเมิน
 

คะแนน ๑

คะแนน ๒

คะแนน ๓

คะแนน ๔

คะแนน ๕

มีการดำเนินการ

๑ ข้อ

มีการดำเนินการ

๒ ข้อ หรือ๓ ข้อ

มีการดำเนินการ

 หรือ ๕  หรือ ๖ ข้อ

มีการดำเนินการ

๗ หรือ ๘ ข้อ

มีการดำเนินการ

๙ ข้อ

 
ผลการดำเนินงาน
 
ผู้รับผิดชอบ : 3สุภมาสตามบุญ
ผู้กำกับติดตาม : 3อรทัยสงวนพรรค
 

ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน วิทยาลัยฯดำเนินการได้ ๙ ข้อ ดังนี้

๑. มีระบบ และกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ พันธกิจและพัฒนาการของสถาบัน ตั้งแต่ระดับภาควิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่า และดำเนินการตามระบบที่กำหนด

วิทยาลัยฯ มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาซึ่งกำหนดไว้ในคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน(๙.๑-๑-๑) ประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ การควบคุมคุณภาพ(Quality Control) โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา(๙.๑-๑-๒) ทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะต่อนโยบายและการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ปรับปรุงการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยฯ และแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา(Quality Auditing) (๙.๑-๑-๓) ดำเนินการการตรวจสอบติดตามคุณภาพ (Quality Auditing)และแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา(Quality Assessment) (๙.๑-๑-๔) ทำหน้าที่การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment)ในระดับกลุ่ม/ฝ่ายและรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯและมีกลไกการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาโดยดำเนินการตรวจติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในระดับกลุ่ม/ฝ่าย โดยคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา(Quality Auditing) (๙.๑-๑-๕) และดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา(๙.๑-๑-๖) เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา และรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน(Quality Assessment)ระดับวิทยาลัยฯจากคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสถาบันพระบรมราชชนก(สบช.) (๙.๑-๑-๗) (๙.๑-๑-๘)

. มีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของสถาบัน

วิทยาลัยฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาโดยมีผู้อำนวยการเป็นประธานและมี การกำหนดนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๔ (๙.๑-๒-๑) และประกาศให้บุคลากรในองค์การรับทราบ(๙.๑-๒-๒)

. มีการกำหนดตัวบ่งชี้เพิ่มเติมตามอัตลักษณ์ของสถาบัน

โดยคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ กำหนดตัวบ่งชี้เพิ่มเติมตามอัตลักษณ์ของสถาบันตามที่สถาบันพระบรมราชชนกได้กำหนดไว้ คือ ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๑.๑ ผลการบริหารสถาบันให้เกิดอัตลักษณ์(สมศ.๑๖.๑) ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๑.๒ ผลการบริหารสถาบันให้เกิดอัตลักษณ์(สมศ. ๑๖.๒) และตัวบ่งชี้(๙.๑-๓-๑)และมีการมอบหมายให้มีผู้ควบคุมกำกับและผู้รับผิดชอบการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายในแต่ละตัวบ่งชี้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบันประกาศให้บุคลากรในองค์การรับทราบ(๙.๑-๓-๒)

. มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย

๑) การควบคุมคุณภาพโดยการกำหนดองค์ประกอบ/มาตรฐานตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔ (๙.๑-๔-๑) มีการกระจายความรับผิดชอบตัวบ่งชี้สู่ผู้ปฏิบัติงานและมอบหมายให้รองผู้อำนวยการแต่ละกลุ่มงานเป็นผู้ควบคุมกำกับตัวบ่งชี้คุณภาพ(๙.๑-๔-๒) และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Audit) เพื่อดำเนินการตรวจสอบคุณภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา(๙.๑-๔-๓) และรับการประเมินคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๓ จากสถาบันพระบรมราชชนกและสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) สมศ. รับการตรวจเยี่ยมจากสถาบันสมทบโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี(๙.๑-๔-๔) และรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๓ จากสถาบันพระบรมราชชนก (๙.๑-๔-๕)

๒) การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพเสนอต่อสภาสถาบันและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามกำหนดเวลา โดยวิทยาลัยฯ จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพที่มีข้อมูลครบถ้วนตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดใน CHE QA Online และ เสนอต่อสถาบัน พระบรมราชชนกและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามกำหนดเวลา(๙.๑-๔-๖)

๓) การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน

โดยวิทยาลัยฯ นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยฯ ปีการศึกษา ๒๕๕๓ ไปจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ (Improvement plan) วงรอบปีการศึกษา ๒๕๕๔ จากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน วงรอบปีการศึกษา ๒๕๕๓ (๙.๑-๔-๗)

. มีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทำงาน และส่งผลให้มีการพัฒนา ผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ทุกตัวบ่งชี้

วิทยาลัยฯ นำแผนพัฒนาคุณภาพสถาบัน(Improvement Plan) ปีการศึกษา ๒๕๕๓ มาพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ทุกตัวบ่งชี้ (๙.๑-๕-๑)

. มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง ๙ องค์ประกอบคุณภาพ

โดยวิทยาลัยได้จัดทำฐานข้อมูลบุคลากร งานพัฒนาบุคลากร งานวิจัย งานบริการวิชาการ ระบบงานทะเบียนและประมวลผลการศึกษาและงานประกันคุณภาพการศึกษา (๙.๑-๖-๑) และได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมใช้ฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับอุดมศึกษา(CHE QA Online)ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) (๙.๑-๖-๒)

. มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษาผู้ใช้บัณฑิตและผู้ใช้บริการตามพันธกิจของสถาบัน

โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประกันคุณภาพการศึกษาได้ร่วมเป็นคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๔ (๙.๑-๗-๑) และมีการประชุมร่วมกันในการให้ข้อเสนอแนะในการกำหนด ทิศทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยฯ (๙.๑-๗-๒)

. มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างสถาบันและมีกิจกรรมร่วมกัน

วิทยาลัยฯสนับสนุนให้อาจารย์เข้ารับการอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ซึ่งจัดโดยวิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคกลาง (๙.๑-๘-๑) และเข้าร่วมเป็นกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในวิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายฯ สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก(๙.๑-๘-๒) มีการประชุมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔(๙.๑-๘-๓) และสนับสนุนให้อาจารย์และนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษากับหน่วยงานอื่น (๙.๑-๘-๔)

๙. มีแนวปฏิบัติที่ดีหรืองานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่หน่วยงานพัฒนาขึ้นและเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์

โดยวิทยาลัยฯได้จัดทำแนวปฏิบัติที่ดีด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เรื่อง แนวปฏิบัติการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา ๒๕๕๔ (๙.๑-๙-๑) และดำเนินการเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นได้ใช้ประโยชน์ (๙.๑-๙-๒)

 
ผลการประเมิน
 
คะแนน อิงเกณฑ์มาตราฐาน บรรลุเป้าหมาย
สบช 5.00 บรรลุ
สกอ 5.00 บรรลุ
สมศ ไม่บรรลุ
 
แนวทางการพัฒนา
 
 กลุ่มยุทธศาสตร์และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจัดทำแนวปฏิบัติที่ดีด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยฯ ในปีการศึกษา  ๒๕๕๕
 
รายการหลักฐาน
 
 
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6.48