ระบบบริหารความเสี่ยง วิทยาลัยฯ ดำเนินการได้ ๖ ข้อ ดังนี้
๑. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยง โดยมีผู้บริหารระดับสูงและตัวแทนที่รับผิดชอบพันธกิจหลักของสถาบันร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงาน โดยคณะกรรมการและคณะทำงานการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วยผู้อำนวยการ เป็นประธาน รองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการทุกกลุ่ม/ฝ่าย เป็นกรรมการ และหัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์และ แผนงาน เป็นเลขานุการคณะกรรมการติดตามและกำกับดูแลการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยง และมีหัวหน้าฝ่ายซึ่งเป็นตัวแทนที่รับผิดชอบพันธกิจหลัก เป็นคณะทำงานการควบคุมภายใน และการจัดการความเสี่ยงระดับกลุ่มงาน (๗.๔-๑-๑, ๗.๔-๑-๒) รรมการ และหัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์ แผนงานและการประกันคุณภาพการศึกษายการทุกกลุ่มกรรมการและคณะทำงานการบริหารความเสี่ยง
๒. มีการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างน้อย ๓ ด้าน ตามบริบทของสถาบัน โดยวิทยาลัยฯ กำหนดความเสี่ยงในปีงบประมาณ ๒๕๕4 ไว้ ๓ ด้าน คือ ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์ ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน และ ความเสี่ยงด้านทรัพยากร (๗.๔-๒-๑)
๓. มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ ๒ โดยคณะทำงานการควบคุมภายใน และการจัดการความเสี่ยงระดับกลุ่มงาน ดำเนินการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ ในการปฏิบัติงานของปีงบประมาณ ๒๕๕4 (๗.๔-๓-๑)
๔. มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง และดำเนินการตามแผน โดยฝ่ายยุทธศาสตร์และแผนงาน และคณะทำงานการควบคุมภายใน ดำเนินการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕4 และกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยง (๗.๔-๔-๑ , ๗.๔-๔-๒)
๕. มีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และรายงานต่อสภาสถาบันเพื่อพิจารณาอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง โดยคณะทำงานการควบคุมภายใน และการจัดการความเสี่ยงระดับกลุ่มงาน มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง และรายงานต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ (๗.๔-๕-๑ , ๗.๔-๕-๒)
๖. มีการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากรายงานผลการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ และมอบหมายรองผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และการพัฒนาคุณภาพ และฝ่ายยุทธศาสตร์ แผนงานและการประกันคุณภาพ และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง นำไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีงบประมาณ ๒๕๕5 (๗.๔-๖-๑, ๗.๔-๖-2)