เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » ตัวบ่งชี้ที่ ๗.๑ ภาวะผู้นำของสภาสถาบันและผู้บริหารทุกระดับของสถาบัน (สกอ.๗.๑)
‹ ย้อนกลับ  
   
องค์ประกอบที่ ๗ การบริหารและการจัดการ  
ตัวบ่งชี้ที่ ๗.๑ ภาวะผู้นำของสภาสถาบันและผู้บริหารทุกระดับของสถาบัน (สกอ.๗.๑)
เกณฑ์มาตรฐาน
๑. สภาสถาบันปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดครบถ้วนและมีการประเมินตนเองตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดล่วงหน้า
๒. ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ กำหนดทิศทางการดำเนินงาน และสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ มีความสามารถในการวางแผนกลยุทธ์ มีการนำข้อมูลสารสนเทศเป็นฐานในการปฏิบัติงานและพัฒนาสถาบัน
๓. ผู้บริหารมีการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามที่มอบหมาย รวมทั้งสามารถสื่อสารแผนและผลการดำเนินงานของสถาบันไปยังบุคลากรในสถาบัน
๔. ผู้บริหารสนับสนุนให้บุคลากรในสถาบันมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ให้อำนาจในการตัดสินใจแก่บุคลากรตามความเหมาะสม
๕. ผู้บริหารถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมพัฒนาผู้ร่วมงาน เพื่อให้สามารถทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบันเต็มตามศักยภาพ
๖. ผู้บริหารบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของสถาบันและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
๗. สภาสถาบันประเมินผลการบริหารงานของสถาบันและผู้บริหารนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริหารงานอย่างเป็นรูปธรรม
 
เกณฑ์การประเมิน
 

คะแนน ๑

คะแนน ๒

คะแนน ๓

คะแนน ๔

คะแนน ๕

มีการดำเนินการ

๑ ข้อ

มีการดำเนินการ

๒ หรือ ๓ ข้อ

มีการดำเนินการ

๔ หรือ ๕ ข้อ

มีการดำเนินการ

๖ ข้อ

มีการดำเนินการ

๗ ข้อ

 
ผลการดำเนินงาน
 
ผู้รับผิดชอบ : 2อุทัยทิพย์จันทร์เพ็ญ
ผู้กำกับติดตาม : 3สุจินตนาพันธ์กล้า
 

ภาวะผู้นำของสภาสถาบันและผู้บริหารทุกระดับของสถาบัน วิทยาลัยฯ ดำเนินการได้ ๖ ข้อ ดังนี้

. คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ครบถ้วน (๗.๑-๑-๑, .--) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน อย่างน้อย 1 ครั้ง/เดือน (7.1-1-3) และคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯยังมีการประเมินตนเองตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดล่วงหน้า (๗.๑-๑-4, ๗.๑-๑-5)

. ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ กำหนดทิศทางการดำเนินงานและสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ และมีการนำข้อมูลสารสนเทศเป็นฐานในการปฏิบัติงานและพัฒนาสถาบันโดย ผู้อำนวยการได้แสดงวิสัยทัศน์ วางนโยบายในการบริหาร (๗.๑-๒-๑, ๗.๑-๒-๒) ใช้กลยุทธ์ในการวางแผนยุทธศาสตร์ (๗.๑-๒-๓) และถ่ายทอดวิสัยทัศน์ นโยบาย และยุทธศาตร์ให้แก่อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยฯ ในการประชุมกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ
(๗.๑-๒-๒, ๗.๑-๒-๔) ที่ประชุมอาจารย์ เจ้าหน้าที่ (๗.๑-๒-๕) และในเล่มแผนยุทธศาสตร์วิทยาลัยพยาบาล
บรมราชชนนี พระพุทธบาท พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๘ ที่ได้ส่งมอบให้อาจารย์ทุกคนในวิทยาลัยฯ (๗.๑-๒-๑) ผู้อำนวยการได้นำข้อมูลจากฐานข้อมูลแผนงาน การวิจัย และการเงินมาวางแผนปฏิบัติงานและพัฒนาวิทยาลัยฯ (๗.๑-๒-๖)

. ผู้บริหารมีการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามที่มอบหมายโดยผู้อำนวยการมีการมอบหมายงานทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร (๗.๑-๓-๑) และไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (๗.๑-๓-๒) และมีการกำกับติดตามและประเมินผลผลการดำเนินงาน เป็นรายบุคคล (7.1-3-3) และในรอบ ๖ เดือน และเมื่อสิ้นปีงบประมาณ (๗.๑-๓-4) รวมทั้งสามารถสื่อสารแผนและผลการดำเนินงานของวิทยาลัยฯไปยังอาจารย์และเจ้าหน้าที่โดย
การจัดทำเล่มแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการ ให้แก่อาจารย์ (๗.๑-๓-5) ตลอดจนถ่ายทอดในที่ประชุมกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ (๗.๑-๓-6) และที่ประชุมอาจารย์และเจ้าหน้าที่ (๗.๑-๓-7)

. ผู้บริหารสนับสนุนให้บุคลากรในสถาบันมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ให้อำนาจในการตัดสินใจแก่บุคลากรตามความเหมาะสม โดยผู้อำนวยการวิทยาลัยมอบอำนาจและหน้าที่ให้บุคลากรในการปฏิบัติงานตามขอบเขตงานที่รับผิดชอบ (๗.๑-๔-๑) และมอบอำนาจในการตัดสินใจแก่ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการในการอนุมัติการลาของเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน (๗.๑-๔-๒)

. ผู้บริหารถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมพัฒนาผู้ร่วมงาน เพื่อให้สามารถทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบันเต็มตามศักยภาพ โดยผู้อำนวยการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ในการดำเนินการประกันคุณภาพ การบริหารความเสี่ยงแก่รองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มสาระวิชา/หัวหน้าฝ่าย (๗.๑-๕-๑)

. ผู้บริหารบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของสถาบันและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดย ผู้อำนวยการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลดังนี้

หลักประสิทธิผล ผู้อำนวยการบริหารงานสำเร็จลุล่วงบรรลุเป้าหมายตามแผนที่วางไว้ (๗.๑-๖-๑,๗.๑-๖-๒)

หลักประสิทธิภาพ ผู้อำนวยการมีแนวทางการกำกับดูแลทีดีทีมีการออกแบบกระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสม ดังเช่น การบริหารจัดการในเรื่องของการจัดให้มีการสอนซ่อมเสริมให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ ๔ เพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบรวบยอดของสถาบันสมทบและของสภาการพยาบาล (๗.๑-๖-๓)

หลักการตอบสนอง ผู้อำนวยการมีการบริหารงานเพื่อตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการของอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาในด้านความผาสุกในการปฏิบัติงาน (๗.๑-๖-๔, ๗.๑-๖-๕, ๗.๑-๖-๖) และพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต (๗.๑-๖-๗)

หลักภาระรับผิดชอบ ผู้อำนวยการได้แสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าทีในระดับที่ตอบสนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ และแสดงความสำนึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะโดยให้เปิดวิทยาลัยฯเป็นศูนย์พักพิงสำหรับผู้ประสบอุทกภัย และให้จัดกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี (๗.๑-๖-๘)

หลักความโปร่งใส ผู้อำนวยการได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการประเมินผลงานข้าราชการ เจ้าหน้าที่ เพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือน ค่าจ้างประจำ และค่าตอบแทน (๗.๑-๖-๙) และประกาศผลการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน โดยประกาศให้ทราบทั่วกัน (๗.๑-๖-๑๐)

หลักการมีส่วนร่วม ผู้อำนวยการเปิดโอกาสให้บุคลากรในองค์กรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจในเรื่องเกี่ยวกับการการพัฒนาวิทยาลัยฯ ดังเช่น การให้ข้าราชการไปนำเสนอผลงานวิชาการต่างประเทศโดยใช้เงินรายได้สถานศึกษา (๗.๑-๖-๑๑) และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาลัยในด้านต่างๆ เช่น การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ (Improvement Plan) (7.1-6-12)

หลักการกระจายอำนาจ ผู้อำนวยการมีการมอบหมายรองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทน (๗.๑-๖-๑3) และการมอบอำนาจในการตัดสินใจในการอนุมัติการลาของเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน (๗.๑-๖-๑4)

หลักนิติธรรม ผู้อำนวยการใช้หลักนิติธรรมในการบริหารราชการด้วยความเป็นธรรมดังเช่น ใช้อำนาจ
ในการดำเนิน
การทางวินัยแก่นักศึกษา (๗.๑-๖-๑5) การอนุมัติการเดินทางไปราชการเพื่อประชุม/อบรม/สัมมนาโดยเครื่องบิน (๗.๑-๖-๑6)

หลักความเสมอภาค ผู้อำนวยการปฏิบัติและให้โอกาสแก่บุคลากรในองค์กรอย่างเท่าเทียม ดังเช่นอนุมัติโครงการให้บุคลากรในวิทยาลัยฯได้ตรวจสุขภาพประจำปี (๗.๑-๖-๑7) และเปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียนที่สมาชิกในองค์กรทุกคนมีโอกาสเข้าถึง (๗.๑-๖-๑8, ๗.๑-๖-๑9)

หลักการมุ่งฉันทามติ ผู้อำนวยการมีการหามติ/ข้อตกลงในเรื่องต่างๆที่มีผลกระทบต่อวิทยาลัยฯ
จากอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยฯดังเช่น มีการหามติจากที่ประชุมอาจารย์ในการพิจารณาแหล่งทุนสำหรับนักศึกษาที่เป็นทุนอาจารย์ (๗.๑-๖-20) และการขอมติจากที่ประชุมและเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมประชุมได้ร่วมอภิปรายในกรณีร่วมเปิดหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับผ่าตัดกับโรงพยาบาลราชวิถี
(๗.๑-๖-๒1)

.สภาสถาบันประเมินผลการบริหารงานของสถาบันและผู้บริหารนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริหารงานอย่างเป็นรูปธรรม โดย คณะกรรมการประเมินการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่แต่งตั้งโดยปลัดกระทรวงสาธารณสุขประเมินการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถาบัน
ปีการศึกษา ๒๕๕๓ (๗.๑-๗
-๑) และผู้อำนวยการนำผลการประเมินในส่วนของคะแนนที่พร่อง คือ ระดับความสำเร็จในการจัดทำแผนกลยุทธ์และบริหารแผนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและระดับความสำเร็จในการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรและบริหารแผนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (๗.๑-๗-๑) ไปปรับปรุงการบริหารงานอย่างเป็นรูปธรรม (๗.๑-๗-๒. ๗.๑-๗-๓)

 
ผลการประเมิน
 
คะแนน อิงเกณฑ์มาตราฐาน บรรลุเป้าหมาย
สบช 5.00 บรรลุ
สกอ 5.00 บรรลุ
สมศ ไม่บรรลุ
 
แนวทางการพัฒนา
 

ควรมีการวิเคราะห์จุดอ่อนในการดำเนินงานและการบริหารองค์กร รวมทั้งวิเคราะห์ผลและสภาพการทำงานขององค์กรเพื่อกำหนดแนวทางด้านการบริหารงานวิทยาลัยเพื่อให้ผลงานมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

 
รายการหลักฐาน
 
 
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6.48