ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาลัยฯ ดำเนินการได้ ๕ ข้อ ดังนี้
๑. มีระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและดำเนินการตามระบบที่กำหนด โดยมี
การกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานในคู่มือทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (๖.๑-๑-๑) มีผู้รับผิดชอบในการวางแผนและดำเนินงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (๖.๑-๑-๒) และมีการจัดทำแผนปฏิบัติการกลุ่มกิจการนักศึกษา ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔ (๖.๑-๑-๓) แผนปฏิบัติการกลุ่มกิจการนักศึกษา ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ (๖.๑-๑-๔) โดยวิทยาลัยฯ มีการจัดทำโครงการสืบสานประเพณีตักบาตรดอกไม้ (๖.๑-๑-๕) โครงการบูรณาการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา (๖.๑-๑-๖) โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย
(๖.๑-๑-๗) และสรุปผลการดำเนินงานโครงการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (๖.๑-๑-๘)
๒. มีการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา โดยวิทยาลัยฯ จัดทำโครงการบูรณาการบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพด้วยโยคะวิถีพุทธในผู้สูงอายุ วิชาพลศึกษา ร่วมกับสโมสรนักศึกษา และชมรมกีฬา (๖.๑-๒-๑)
๓. มีการเผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน โดยมีการจัดแสดงกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลพุกร่างในกิจกรรมวันสงกรานต์และวันผู้สูงอายุ (๖.๑-๓-๑) มีการเผยแพร่กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้วยโยคะวิถีพุทธแก่ประชาชนในเขตอำเภอพระพุทธบาท (๖.๑-๓-๒) และมีการเผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมทางเว็บไซต์ของวิทยาลัย (๖.๑-๓-๓)
๔. มีการประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา โดยมีการสรุปและประเมินผลการดำเนินการโครงการบูรณาการบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพด้วยโยคะวิถีพุทธในผู้สูงอายุ (๖.๑-๔-๑)
๕. มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา โดยมีข้อเสนอแนะจากการประชุมร่วมกันระหว่างอาจารย์ในฝ่ายพัฒนานักศึกษาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับอาจารย์ผู้ประสานวิชาพลศึกษา และสโมสรนักศึกษาเพื่อนำผลมาปรับปรุงการบูรณาการ (๖.๑-๕-๑)