วิทยาลัยพยาบาลฯ ได้เห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพในคนพิการ เนื่องจากประเทศไทยมีแนวโน้มของจำนวนคนพิการที่เพิ่มขึ้นจากประชากรเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่นำไปสู่ความพิการมากขึ้น ประกอบกับแนวคิดในการดูแลสุขภาพคนพิการเน้นการดูแลที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน วิทยาลัยพยาบาลฯ ได้ดำเนินการจัดทำแผนแก้ปัญหาสังคมในประเด็นที่ ๒ ภายนอกสถาบัน เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ได้ดำเนินการจัดทำโครงการ เพิ่มความรู้ และพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพื่อดูแลคนพิการ (อพมก.) ผลของการจัดทำโครงการพบว่า อพมก. มีจำนวนน้อยไม่เพียงพอ คนพิการยังไม่ค่อยมั่นใจในความสามารถของ อพมก. คนพิการรายใหม่มีภาวะแทรกซ้อน ข้อติด ไหล่หลุด เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากความพิการ และญาติไม่ให้ความร่วมมือ เป็นต้น วิทยาลัยพยาบาลฯ จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการบริการสุขภาพบุคคลที่มีความพิการ โดยดำเนินการได้ ๔ ข้อ ดังนี้
๑. มีการดำเนินการตามวงจรคุณภาพ (PDCA) โดยจัดทำโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กระบวนการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเพื่อบริการสร้างเสริมสุขภาพบุคคลที่มีความพิการ (๕.๒.๒.๒-๑-๑) ที่ดำเนินการต่อเนื่องโดยระยะวางแผน (P) ได้มีการวางแผนต่อเนื่องจากผลการวิเคราะห์ที่ต่อเนื่องจากการให้บริการเพิ่มความรู้ และพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครดูแลคนพิการที่วิทยาลัยดำเนินการร่วมกับเทศบาลตำบลพุกร่าง อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี จากผลการวิเคราะห์พบว่าจำนวนอาสาสมัครดูแลคนพิการไม่เพียงพอต่อการดูแลคนพิการ และอาสาสมัครยังขาดความมั่นใจในการให้บริการคนพิการในหลายประเด็น ได้แก่ การเกิดแผลกดทับ การดูแลคนพิการที่ใส่สายสวนปัสสาวะ การดูแลคนพิการที่รับประทานอาหารทางสายยาง จึงปรับแผนการเยี่ยมคนพิการใหม่ และพัฒนาอาสาสมัครรายใหม่หรือคนใจดี แลเพิ่มศักยภาพอาสาสมัครเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูแลคนพิการในประเด็นที่ขาดความมั่นใจ (๕.๒.๒.๒-๑-๒) และให้บริการตามแผน (D) ที่เป็นการให้บริการวงจรแรกระหว่างเดือนมิถุนายน ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยจัดกิจกรรมติดตามเยี่ยมคนพิการรายใหม่เพื่อป้องกันความพิการ ปรับเวลาการเยี่ยมคนพิการรายเก่าที่เน้นการดูแลทั้งคนพิการและผู้ดูแลในครอบครัว เพิ่มความรู้และพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครเพื่อรองรับการมีศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน (๕.๒.๒.๒-๑-๒) จากนั้นมีการประเมินผล (C) โดยการประเมินการรับรู้ความสำเร็จของอาสาสมัครในการดูแลคนพิการ ผลลัพธ์ของการให้บริการตามการรับรู้ของคนพิการและผู้ดูแล และสรุปบทเรียนเพื่อนำไปสรุปบทเรียนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาในวงจรต่อไป (๕.๒.๒.๒-๑-๒) (A) มีการประชุมอาสาสมัครดูแลคนพิการเพื่อจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวปฏิบัติสำหรับการดูแลคนพิการ และนำแนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นไปใช้ในการให้บริการ
๒. บรรลุเป้าหมายตามแผนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ จากตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนที่กำหนดไว้ 4 ข้อ คือ (๑) มี อพมก. หรือคนใจดีเพิ่มขึ้นหมู่บ้านละ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 80 (2) อพมก.รายเก่าและใหม่เข้าร่วมโครงการพัฒนาความรู้ และศักยภาพในการดูแลคนพิการร้อยละ 70 (3) จำนวนคนพิการรายใหม่ได้รับการเยี่ยมร้อยละ 100 (4) อพมก. มีคะแนนความรู้หลังจากเข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 (๕.๒.๒.๒-๒-๑)
๓. มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อชุมชน คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจในความสำเร็จที่เกิดจากการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ จากการมีศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน และศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาคนพิการโดยชุมชน คนพิการจากภาวะหลอดเลือดสมองได้รับการดูแลประสบผลสำเร็จตามนโยบาย stroke fast track ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (๕.๒.๒.๒-๓-๑) (๕.๒.๒.๒-๓-๒) (๕.๒.๒.๒-๓-3)
๔. มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์ และสร้างคุณค่าต่อชุมชน และสังคม เกิดภาคีเครือข่ายการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (๕.๒.๒.๒-๔-๑)