ผลการชี้นำ ป้องกันหรือแก้ปัญหาสังคมในด้านต่างๆ วิทยาลัย ฯ ดำเนินการได้ ๕ ข้อ ดังนี้
๑. มีการดำเนินการตามวงจรคุณภาพ PDCA
วิทยาลัยฯ ได้กำหนดประเด็นการชี้นำ ป้องกันหรือแก้ปัญหาสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม โดยประเด็นดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหาร ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๓ วันที่ ๘ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยกำหนดให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้บุคลากรของวิทยาลัยยึดหลักความดี ความงาม ความถูกต้องในการปฏิบัติงาน การเรียนการสอนและแสดงออกซึ่งพฤติกรรมการปฏิบัติที่ดีงาม สะท้อนคุณธรรมภายในให้เห็นเป็นรูปธรรม โดยกำหนดพฤติกรรมหลัก ๔ ด้าน คือ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความเอื้ออาทร และจรรยาบรรณวิชาชีพ (๕.๒.๒.๑-๑-๑)
วิทยาลัยได้จัดทำแผนชี้นำสังคมภายในวิทยาลัย โดยมีโครงการที่กำหนดไว้ในแผน คือ (๑) โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณบุคลากร (๒) โครงการสร้างเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในนักศึกษาพยาบาล จากแผนงานได้นำมาให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการเขียนโครงการ โดยระบุรายละเอียดของกิจกรรมและตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการพร้อมทั้งจัดกิจกรรมตามโครงการ (Do) (๕.๒.๒.๑-๑-๒) เมื่อดำเนินงานโครงการเสร็จ ผู้รับผิดชอบโครงการได้จัดให้มีการประเมินผลโครงการทุกโครงการ (Check) (๕.๒.๒.๑-๑-๓) หลังจากประเมินโครงการแล้ว ได้นำผลการประเมินมาวิเคราะห์ เพื่อหาจุดเด่น และแนวทางการพัฒนา และนำแนวทางไปปรับปรุงแผน และโครงการที่จะดำเนินการในปีต่อไป (Act) (๕.๒.๒.๑-๑-๔)
๒. บรรลุเป้าหมายตามแผนประจำปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐
วิทยาลัย ฯ ได้ประเมินผลตามตัวชี้วัดโครงการทุกโครงการ จำนวน ๖ ตัวชี้วัด บรรลุเป้าหมายทุกตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ (๕.๒.๒.๑๒-๑)
๓. มีประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อคนในสถาบัน
จากการนำคุณธรรม จริยธรรม มาเป็นประเด็นชี้นำในวิทยาลัย ส่งผลให้เกิดประโยชน์ และคุณค่า ต่อคนในวิทยาลัยดังนี้
๓.๑ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมจากการเข้าค่ายสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม การฟังธรรมบรรยายและมีการออกเสียงตามสายเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมเดือนละครั้ง มีการเสนอแง่คิดจริยธรรมในการประชุมประจำเดือนของอาจารย์ ส่งผลให้อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ได้นำหลักคุณธรรม จริยธรรมมาประพฤติปฏิบัติในการทำงาน และชีวิตประจำวัน (๕.๒.๒.๑๓-๑)
๓.๒ กรอบคุณธรรม จริยธรรมที่วิทยาลัยฯ กำหนดให้บุคลากรของวิทยาลัยฯ ยึดถือและปฏิบัติ คือ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความเอื้ออาทร และมีจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อหล่อหลอมบุคลากรของวิทยาลัยฯ ให้ร่วมแรง ร่วมใจในการทำงานอย่างซื่อสัตย์ต่อองค์กร มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และองค์กร และมีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันในการทำงาน ซึ่งผลการประเมินความผาสุก ความพึงพอใจ และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานพบว่า
๓.๒.๑ ความพึงพอใจและความผาสุกของอาจารย์และข้าราชการ (๕.๒.๒.๑๓-๒)
(๑) ความพึงพอใจและความผาสุกของอาจารย์ และข้าราชการต่อแง่มุมต่างๆ ในการทำงาน (๖ ด้าน) มีค่าเฉลี่ยรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ๔.๔๕-๕.๐๐ จากคะแนนเต็ม ๗ คะแนน ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.77 จากคะแนนเต็ม ๗ คะแนน
(๒) ความพึงพอใจและความผาสุกของอาจารย์ และข้าราชการเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ ผลการประเมินอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 4.66 จากคะแนนเต็ม 7
(๓) ความพึงพอใจและความผาสุกของอาจารย์ และข้าราชการเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.91 จากคะแนนเต็ม 7
(๔) ความพึงพอใจและความผาสุกของอาจารย์ และข้าราชการเกี่ยวกับการรักษาดุลยภาพระหว่างชีวิต และการทำงาน (Work life balance) ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.45 จากคะแนนเต็ม 7
(๕) ความพึงพอใจและความผาสุกของอาจารย์ และข้าราชการเกี่ยวกับความพึงพอใจ และความสุขในการทำงาน ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ๓.๗5 จากคะแนนเต็ม 5
๓.๒.๒ ความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน (๕.๒.๒.๑๓-๓)
(๑) ความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนต่อแง่มุมต่างๆ ในการทำงาน (5 ด้าน) มีค่าเฉลี่ยรายด้านอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.25-3.84 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน ค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.72 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน
(2) ความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนเกี่ยวกับความพึงพอใจ และความสุขในการทำงาน ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.75 จากคะแนนเต็ม 5
๓.๒.๓ ความคิดเห็นของนักศึกษา (๕.๒.๒.๑๓-๔)
(๑) ผลการประเมินการรับรู้ตนเองเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ของนักศึกษา อยู่ในระดับ
ดีมาก มีค่าเฉลี่ย ๔.๕๗
(๒) ผลการประเมินการรับรู้ตนเองเกี่ยวกับความรับผิดชอบของนักศึกษา อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย ๔.๔๐
(๓) ผลการประเมินการรับรู้ตนเองเกี่ยวกับความเอื้ออาทรของนักศึกษา อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย ๔.๓๘
๔. มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อสถาบัน
๔.๑ จากการดำเนินการโครงการสร้างเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในนักศึกษาพยาบาลและโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณบุคลากร ส่งผลให้บุคลากรของวิทยาลัยฯ เกิดความรับผิดชอบและเอื้ออาทรต่อสังคม เมื่อเกิดวิกฤติการณ์น้ำท่วมในปี พ.ศ.๒๕๕3 ที่ตำบลหนองแก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี บุคลากร และนักศึกษาได้นำสิ่งของไปบริจาค และเข้าฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ๕.๒.๒.๑-๔-๑ และได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในปี พ.ศ. 2554 ที่ศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยชั่วคราว โรงเรียนเทพศิรินทร์พุแค อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยชั่วคราววัดพรหมมาตร์ วัดตองปุ วัดมณีชลขันธ์ ศูนย์พักพิงชั่งคราวกองทับบกค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี และศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยชั่วคราววิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
4.2 จากการสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรมส่งผลให้วิทยาลัยฯ จัดตั้งชมรมจริยธรรม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท (๕.๒.๒.๑-4-2) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกชมรมยึดหลักคุณธรรม จริยธรรมและนำมาใช้ในการปฏิบัติและดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของสมาชิกชมรมอย่างต่อเนื่อง
๔.3 ผลการประเมินการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของอาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕4 พบว่า
อาจารย์ บอกว่าประโยชน์และคุณค่าที่ได้รับจากการศึกษาคุณธรรมและจริยธรรมต่อตนเอง คือทำให้สงบ มีสติ มีสมาธิ มีแนวทางในการดำเนินชีวิต ตนเองและครอบครัวมีความสุข มีหลักในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน ทำให้รู้จักการเสียสละ ประโยชน์ต่อวิทยาลัยคือ ทำให้วิทยาลัยอยู่ด้วยกันด้วยกัลยาณมิตร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน บุคลากรของวิทยาลัยมีคุณธรรมและการทำงานแบบเอื้ออาทร วิทยาลัยมีชื่อเสียงว่าบุคลาการเป็นคนดี ไม่สร้างปัญหาให้กับสังคม ประโยชน์ต่อสังคมคือ เป็นองค์กรที่ส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณธรรม จริยธรรม สังคมสงบ เป็นสุข ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ได้ช่วยเหลือสังคม เช่น ร่วมกิจกรรมน้ำท่วม และได้ทำคุณงามความดี เช่น กตัญญูต่อบิดามารดา บริจาคทาน ให้ความช่วยเหลือผู้รับบริการด้วยความเต็มใจ
บุคลากรบอกว่าประโยชน์และคุณค่าที่ได้รับจากการศึกษาคุณธรรมและจริยธรรม ต่อตนเองคือ ใช้
ชีวิตที่ถูกที่ควร ทำจิตใจให้สงบ รู้จักปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น มีความสุข ประโยชน์ต่อวิทยาลัย คือทำให้องค์กรประสบความสำเร็จเพราะความไม่เห็นแก่ตัว คนในองค์กรช่วยเหลือกัน มีจิตใจเอื้ออาทร อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ประโยชน์ต่อสังคม คือ ทำให้สังคมมีแต่คนดีๆ สังคมน่าอยู่ และได้มีการทำคุณงามความดี เช่น รู้หน้าที่ มีความมานะ อดทน เคารพกตัญญูบิดามารดา เป็นลูกที่ดี รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ
นักศึกษา บอกว่าประโยชน์และคุณค่าที่ได้รับจากการศึกษาคุณธรรมและจริยธรรม ต่อตนเองคือ
ทำให้มีหลักคุณธรรม จริยธรรมในการทำงานและการดำเนินชีวิต ทำให้มีความอดทน รู้ศักยภาพของตนเอง รู้บทบาทหน้าที่ เข้าใจตนเองและผู้อื่นมากขึ้น มีสมาธิในการเรียนการทำงาน ดำรงชีวิตอยู่บนคุณธรรมแห่งคุณงามความดี ประโยชน์ต่อวอทยาลัยคือ ทำให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ช่วยเหลือกัน มีความรักใคร่ ปรองดองสามัคคี ประโยชน์ต่อสังคม คือทำให้ได้บัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรมซึ่งมีคุณค่าต่อสังคมในการทำงานและการทำประโยชน์ต่อสังคม ได้ช่วยเหลือสังคม และได้มีการทำคุณงามความดี เช่น ตั้งใจเรียน และปฏิบัติตามกฎของวิทยาลัย เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ รับผิดชอบทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ(๕.๒.๒.๑-๔-๓)
4.4 จากการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในองค์กรส่งผลให้เกิดแนวปฏิบัติในการทำงานร่วมกัน เกี่ยวกับความรับผิดชอบ ๕.๒.๒.๑-๔-๔
๔.5 จากการสรุปผลการปฏิบัติตามคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ไม่มีผู้กระทำ
ผิดและไม่มีผู้ร้องเรียน (๕.๒.๒.๑-๔-5)
๕. ได้รับการยกย่องระดับชาติและ/หรือระดับนานาชาติ
นักศึกษาของวิทยาลัยฯ ชื่อนางสาวภิไลภรณ์ ฝาชัยภูมิ ได้รับกิติบัตรยกย่องว่ามีความประพฤติดีงามจากพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 (๕.๒.๒.๑-๕-๑)