เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๒.๑ ผลการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหรือองค์กรภายนอก (สมศ. ๙)
‹ ย้อนกลับ  
   
องค์ประกอบที่ ๕ การบริการวิชาการแก่สังคม  
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๒.๑ ผลการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหรือองค์กรภายนอก (สมศ. ๙)
ประเด็นการพิจารณา
๑. มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนหรือองค์กร
๒. บรรลุเป้าหมายตามแผนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐
๓. ชุมชนหรือองค์กรมีผู้นำหรือสมาชิกที่มีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
๔ . ชุมชนหรือองค์กรสร้างกลไกที่มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยคงอัตลักษณ์ และวัฒนธรรมของชุมชนหรือองค์กร
๕. มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าต่อสังคม หรือชุมชน/องค์กรมีความเข้มแข็ง
 
เกณฑ์การประเมิน
 

 ปฏิบัติได้

๑ ข้อ

ปฏิบัติได้

๒ ข้อ

ปฏิบัติได้

๓ ข้อ

ปฏิบัติได้

๔ ข้อ

ปฏิบัติได้

๕ ข้อ

 
ผลการดำเนินงาน
 
ผู้รับผิดชอบ : 2ยอดสร้อยวิเวกวรรณ
ผู้กำกับติดตาม : 3สุจินตนาพันธ์กล้า
 

วิทยาลัยฯสามารถดำเนินการในประเด็นของผลการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหรือองค์กรภายนอก ได้ ๕ ข้อ ดังนี้

. มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนหรือองค์กร

วิทยาลัยฯได้ดำเนินการสนทนากลุ่มร่วมกับ อสม.ตำบลพุกร่างและชมรมผู้สูงอายุสิงห์ทองหนองคณฑีเพื่อประเมินผลการให้บริการวิชาการโครงการพัฒนาศักยภาพอสม.เรื่องสมุนไพรกับสุขภาพ พบว่ามีประโยชน์ เช่น การใช้บริโภคและความสัมพันธ์ของคนในชุมชนดีขึ้น เป็นต้น แต่จุดอ่อนที่พบคือปัญหาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะการซื้อยาแก้ปวด ยาชุดมารับประทานเองเป็นประจำเนื่องจากขาดความรู้เรื่องการใช้ยา ดังนั้นชุมชนควรมีการพัฒนาเรื่องสมุนไพรให้ก้าวหน้าขึ้นจนสามารถนำมาแก้ปัญหาการใช้ยาของประชาชนได้ เช่น นำมาทำเป็นยารักษาโรคซึ่งเป็นภูมิปัญญาเดิมของชุมชนจากนั้นพัฒนาให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และมีข้อเสนอแนะให้มีการนำผักสมุนไพรมาใช้ส่งเสริมสุขภาพคนในชุมชนทุกช่วงวัย เป็นต้น (๕.๒.๑-๑-๑) วิทยาลัยฯประชุมวางแผนร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองคณฑี ชมรมผู้สูงอายุสิงห์ทองหนองคณฑีและเทศบาลตำบลพุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เพื่อประเมินผลการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพอสม.เรื่องสมุนไพรกับสุขภาพ โดยนำผลสรุป การประเมินผลและข้อเสนอแนะจากการจัดทำโครงการฯ มาเป็นแนวทางในการวางแผนการจัดกิจกรรมในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ (Act) (๕.๒.๑-๑-๒)

วิทยาลัยฯวางแผนการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลพุกร่าง : สมุนไพรในชีวิตประจำวัน (Plan) (๕.๒.๑-๑-๓) มีการจัดกิจกรรมตามแผน เช่น การให้ความรู้และปรับทัศนคติของประชาชนเรื่องการใช้ยาให้ถูกต้อง สมุนไพรในชีวิตประจำวันที่มีผลต่อสุขภาพ ชมรมผู้สูงอายุฯสนับสนุนให้ประชาชนฟื้นฟูภูมิปัญญาเดิมของชุมชนในการป้องกันแผลกดทับโดยนำไพรผสมกับน้ำมันมะพร้าวทาและสร้างนวัตกรรมถุงผ้าแก้ปวด(ถุงผ้าบรรจุข้าวสาร ใบเตย การบูร) ซึ่งเป็นการพัฒนาการดูแลสุขภาพของชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองต่อไป มีการส่งเสริมสุขภาพเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยการให้เด็กมีส่วนร่วมในการปลูกผัก ดูแลและนำผักจากสวนสมุนไพรมาประกอบอาหาร และ วิทยาลัยฯนำองค์ความรู้จากโครงการพัฒนาศักยภาพอสม.เรื่องสมุนไพรกับสุขภาพ มาใช้ในการเรียนการสอนร่วมกับให้นักศึกษาไปศึกษาสวนสมุนไพรและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนเรื่องสมุนไพรในรายวิชาโภชนศาสตร์ เป็นต้น (Do) (๕.๒.๑-๑-๔) วิทยาลัยฯสรุปผลการดำเนินโครงการฯตามตัวชี้วัด (Check) (๕.๒.๑-๑-๕) และนำเสนอผลสรุปโครงการฯในที่ประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการ ในประเด็นของผลการจัดกิจกรรม ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพ ระบบและกลไกการให้บริการวิชาการแก่สังคมต่อไป (๕.๒.๑-๑-๖)

. บรรลุเป้าหมายตามแผนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐

วิทยาลัยฯร่วมกับเทศบาลตำบลพุกร่าง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองคณฑี ประธานชมรมผู้สูงอายุและตัวแทน อสม.ได้ประเมินผลตามตัวชี้วัดของแผนประจำปี จำนวน ๒ ตัวชี้วัด พบว่าบรรลุเป้าหมายทุกตัวชี้วัด และประเมินผลตามตัวชี้วัดของโครงการฯ จำนวน ๔ ตัวชี้วัด บรรลุเป้าหมายทุกตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ (๕.๒.๑-๒)

. ชุมชนหรือองค์กรมีผู้นำหรือสมาชิกที่มีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

ชมรมผู้สูงอายุสิงห์ทองหนองคณฑี เป็นแกนนำในการประยุกต์ความรู้เรื่องสมุนไพรมาต่อยอดสู่การส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาเป็นยารักษาโรค เช่น การป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียงโดยนำไพรผสมกับน้ำมันมะพร้าวทาบริเวณผิวหนังถูกกดและนวัตกรรมถุงผ้าแก้ปวด(ถุงผ้าบรรจุข้าวสาร ใบเตย การบูร)โรคกระเพาะอาหารอักเสบ และอาการเจ็บปวดตามร่างกาย เป็นต้น (๕.๒.๑-๓-๑) มีการขยายพื้นที่การเพาะปลูกผักสมุนไพรเข้าไปในบ้านเรือนของประชาชนเพื่อใช้บริโภคในชีวิตประจำวัน และมีการนำผักสมุนไพรมาประกอบอาหารให้เด็กรับประทานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (๕.๒.๑-๓-๒)

. ชุมชนหรือองค์กรสร้างกลไกที่มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยคงอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของชุมชนหรือองค์กร

ชมรมผู้สูงอายุสิงห์ทองหนองคณฑี ตำบลพุกร่างเป็นแกนนำการขับเคลื่อนให้ประชาชนในชุมชนร่วมกันพัฒนาการทำยาจากสมุนไพร นำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรค(๕.๒.๑-๔-๑) ขยายพื้นที่การเพาะปลูกผักสมุนไพรเข้าไปในบ้านเรือนประชาชนเพิ่มขึ้นและบริโภคจนเป็นวิถีชีวิตของชุมชน ชุมชนได้ตระหนักว่าสมุนไพรมีคุณค่าต่อชีวิตที่ควรปลูกฝังทัศนคตินี้ตั้งแต่วัยเด็ก จึงริเริ่มจัดกิจกรรมนำผักสมุนไพรมาใช้ส่งเสริมสุขภาพในวัยเด็ก ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยการให้เด็กมีส่วนร่วมในการปลูกผัก ดูแล บำรุงรักษาและนำผักจากสวนสมุนไพรมาประกอบอาหารให้เด็กรับประทานทุกวัน (๕.๒.๑-๔-๒)

. มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าต่อสังคม หรือชุมชน/องค์กรมีความเข้มแข็ง

วิทยาลัยฯร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองคณฑี ได้สนทนากลุ่มกับ อสม. ชมรมผู้สูงอายุสิงห์ทองหนองคณฑี และประชาชนในชุมชนเพื่อประเมินผลของโครงการฯ (๕.๒.๑-๕-๑) พบว่ามีประโยชน์และคุณค่า ดังนี้ ๑) ลดปัญหาพฤติกรรมของประชาชนในการซื้อยามารับประทานเอง ๒) คุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถใช้แก้ปัญหาและส่งเสริมสุขภาพได้ ๓) ประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมโดยมีการปลูกและบริโภคผักสมุนไพรในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น ๔) ชุมชนริเริ่มสร้างสรรค์กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยผักสมุนไพร ๕) ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกมีคุณค่าและมีพลัง และ ๖) มีนวัตกรรมของชุมชน คือ ถุงผ้าแก้ปวด สำหรับการดูแลสุขภาพคนในชุมชนโดยภูมิปัญญาของชุมชนเอง เมื่อได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อไป (๕.๒.๑-๕-๒)

 
ผลการประเมิน
 
คะแนน อิงเกณฑ์มาตราฐาน บรรลุเป้าหมาย
สบช 5.00 บรรลุ
สกอ ไม่บรรลุ
สมศ 5.00 บรรลุ
 
แนวทางการพัฒนา
 
 
รายการหลักฐาน
 
 
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6.48