วิทยาลัยฯมีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานได้ ๕ ข้อ ดังนี้
๑. มีการสำรวจความต้องการของชุมชนหรือภาครัฐ หรือภาคเอกชนหรือหน่วยงานวิชาชีพเพื่อประกอบการกำหนดทิศทางและการจัดทำแผนการบริการวิชาการตามจุดเน้นของสถาบัน
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาทร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองคณฑี
สำรวจภาวะสุขภาพและความต้องการของประชาชนตำบลพุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี (๕.๒-๑-๑) และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ประเมินผลโครงการพัฒนาศักยภาพอสม.เรื่องสมุนไพรกับสุขภาพ (๕.๒-๑-๒) วิทยาลัยฯ ประชุมวางแผนร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองคณฑี ชมรมผู้สูงอายุสิงห์ทองหนองคณฑี และเทศบาลตำบลพุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องกับปัญหาสภาพ ความต้องการของชุมชน (๕.๒-๑-๓) และผลการประเมินข้อเสนอแนะโครงการพัฒนาศักยภาพอสม.เรื่องสมุนไพรกับสุขภาพ เป็นแนวทางในการวางแผนการ จัดกิจกรรม ทำแผนงาน โครงการประจำปีงบประมาณ 2555 โดยวางแผนจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลพุกร่าง: สมุนไพรในชีวิตประจำวัน (๕.๒-๑-๔)
๒. มีความร่วมมือด้านบริการทางวิชาการเพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหรือภาคเอกชน หรือภาครัฐ หรือหน่วยงานวิชาชีพ
วิทยาลัยฯทำข้อตกลงความร่วมมือร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองคณฑี และเทศบาลตำบลพุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ในการดำเนินงานด้านวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้านสุขภาพ (๕.๒-๒-๑) และร่วมกันจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลพุกร่าง: สมุนไพรในชีวิตประจำวันขึ้น (๕.๒-๒-๒)
๓. มีการประเมินประโยชน์หรือผลกระทบของการให้บริการทางวิชาการต่อสังคม
วิทยาลัยฯ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองคณฑี ได้สนทนากลุ่มกับอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านตำบลพุกร่าง (อสม.) ชมรมผู้สูงอายุสิงห์ทองหนองคณฑี และประชาชนในตำบลพุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เพื่อประเมินประโยชน์หรือผลกระทบการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลพุกร่าง: สมุนไพรในชีวิตประจำวัน (๕.๒-๓-๑) สรุปได้ ดังนี้ ๑) ลดปัญหาพฤติกรรมของประชาชนในการซื้อยามารับประทานเอง ๒) คุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถใช้แก้ปัญหาและส่งเสริมสุขภาพได้ ๓) ประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมโดยมีการปลูกและบริโภคผักสมุนไพรในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น ๔) ชุมชนริเริ่มสร้างสรรค์กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยผักสมุนไพร ๕) ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกมีคุณค่าและมีพลัง และ ๖) มีนวัตกรรมของชุมชน คือ ถุงผ้าแก้ปวด สำหรับการดูแลสุขภาพคนในชุมชนโดยภูมิปัญญาของชุมชนเอง เมื่อได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อไป (๕.๒-๓-๒)
๔. มีการนำผลการประเมินในข้อ ๓ ไปพัฒนาระบบและกลไกหรือกิจกรรมการให้บริการทางวิชาการวิทยาลัยฯได้นำผลการประเมินในข้อ ๓ ไปพัฒนาระบบและกลไกของการให้บริการทางวิชาการ โดย
คณะกรรมการบริการวิชาการของวิทยาลัยฯได้นำผลการประเมินไปเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางวิชาการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (๕.๒-๔-๑)
๕. มีการพัฒนาความรู้ที่ได้จากการให้บริการทางวิชาการและถ่ายทอดสู่บุคลากรภายในสถาบันและเผยแพร่สู่สาธารณชน
วิทยาลัยฯ ได้พัฒนาความรู้ที่ได้จากการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลพุกร่าง: สมุนไพรในชีวิตประจำวัน โดยจัดทำเป็นคู่มือการใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพ (๕.๒-๕-๑) ประชาสัมพันธ์คู่มือให้กับบุคลากรภายในวิทยาลัยฯ (๕.๒-๕-๒) เผยแพร่สู่สาธารณชนทาง Website ของวิทยาลัยฯ (๕.๒-๕-๓) และวิทยุชุมชนรายการวิทยุสุขภาพช่วงสมุนไพรน่ารู้ (๕.๒-๕-๔)