เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๑ ระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม (สกอ.๕.๑)
‹ ย้อนกลับ  
   
องค์ประกอบที่ ๕ การบริการวิชาการแก่สังคม  
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๑ ระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม (สกอ.๕.๑)
เกณฑ์มาตรฐาน
๑. มีระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
๒. มีการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอน
๓. มีการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการวิจัย
๔ . มีการประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัย
๕. มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัย
 
เกณฑ์การประเมิน
 

คะแนน ๑

คะแนน ๒

คะแนน ๓

คะแนน ๔

คะแนน ๕

มีการดำเนินการ

๑ ข้อ

มีการดำเนินการ

๒ ข้อ

มีการดำเนินการ

๓ ข้อ

มีการดำเนินการ

๔ ข้อ

มีการดำเนินการ

๕ ข้อ

 
ผลการดำเนินงาน
 
ผู้รับผิดชอบ : 143สุมาลีเอี่ยมสมัย
ผู้กำกับติดตาม : 3สุจินตนาพันธ์กล้า
 

ระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม ในปีการศึกษา ๒๕๕4 วิทยาลัยฯ ดำเนินการได้

๕ ข้อ ดังนี้

. มีระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม และดำเนินการตามระบบที่กำหนด โดยมีการกำหนดระบบการบริการวิชาการแก่สังคม (๕.๑-๑-๑) มีกลไกการบริการวิชาการแก่สังคม ได้แก่ คู่มือการบริการวิชาการแก่สังคม กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ ขั้นตอนการให้บริการวิชาการแก่สังคม ฝ่ายการบริการวิชาการแก่สังคม และคณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคม (๕.๑-๑-๒) มีแผนการให้บริการวิชาการแก่สังคม (๕.๑-๑-๓) มีการดำเนินการตามระบบที่กำหนด โดยสำรวจความต้องการของชุมชนและหน่วยงานด้านสาธารณสุข วางแผนร่วมกับชุมชนและหน่วยงานด้านสาธารณสุข และจัดทำโครงการโดยผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมก่อนได้รับการอนุมัติ ในปีการศึกษา ๒๕๕4 มีจำนวนโครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผน จำนวน 9 โครงการ(๕.๑-๑-๓) โครงการที่วางแผนร่วมกับชุมชน จำนวน ๔ โครงการ(๕.๑-๑-4) และโครงการที่ให้บริการวิชาการตามความต้องการ จำนวน ๕ โครงการ (๕.๑-๑-5)

๒. มีการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอน โดยมีโครงการบริการวิชาการแก่สังคมที่บูรณาการกับการเรียนการสอน จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่

๑) โครงการการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับผู้ประสบอุทกภัย บูรณาการการเรียนการสอนรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลอนามัยครอบครัวและชุมชน ๒ (๕.๑-๒-๑ , ๕.๑-๒-๒)

๒) โครงการ พัฒนาศักยภาพอสม.เรื่องสมุนไพรกับสุขภาพนำเนื้อหาเรื่องถุงผ้าแก้ปวดและไพรป้องกันแผลกดทับ บูรณาการการเรียนการสอนรายวิชา โภชนาการ เรื่องชนิดและคุณค่าของสารอาหาร ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านอาหารของไทยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (๕.๑-๒-๓ , ๕.๑-๒-๔)

๓) โครงการ เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ที่มีความละเอียดอ่อนเชิงเพศ

ภาวะ นำเนื้อหาเรื่อง การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ที่มีความละเอียดอ่อนเชิงเพศ บูรณาการการเรียนการสอน ในรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันความเจ็บป่วย (๕.๑-๒-๕, ๕.๑-๒-๖)

๓. มีการบูรณาการวิชาการแก่สังคมกับการวิจัย โดยมีการบูรณาการกับการวิจัย จำนวน

๒ โครงการ ได้แก่

๑) โครงการ การสร้างเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ที่มีความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะ นำไปสู่การทำวิจัยเรื่อง ประสบการณ์ของนักศึกษาในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ที่มีความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะสำหรับบุคคลในช่วงวัยต่างๆ (๕.๑-๓-๑, ๕.๑-๓-๒)

๒) โครงการ การสร้างเสริมสุขภาพด้วยโยคะวิถีพุทธในผู้สูงอายุ และนำไปสู่การทำวิจัยเรื่อง การพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาให้มีจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์เพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยวิธีการออกกำลังกายแบบโยคะวิถีพุทธ (๕.๑-๓-3,๕.๑-๓-4)

3) โครงการ พัฒนาศักยภาพอสม.เรื่องสมุนไพรกับสุขภาพ และนำไปสู่การทำวิจัยเรื่อง การจัดการองค์ความรู้การใช้สมุนไพรในชีวิตประจำวันต่อการเสริมสร้างสุขภาพของชมรมผู้สูงอายุสิงห์ทองหนองคณฑี อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี (๕.๑-๓-5, ๕.๑-๓-6)

๔. มีการประเมินผลสำเร็จของการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัย โดยฝ่ายบริการวิชาการแก่สังคม นำข้อมูลจากการประเมินผลโครงการบริการวิชาการแก่สังคมแต่ละโครงการจากผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งประเมินความสำเร็จจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง หน่วยงาน ทั้งผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ เกี่ยวกับผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคการดำเนินโครงการ สรุป

๕.๑--

รายงานการประเมินผลสำเร็จของการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัย ปีการศึกษา ๒๕๕4 (๕.๑-๔-๑)

๕. มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัย โดยฝ่ายบริการวิชาการแก่สังคมนำรายงานการประเมินผลสำเร็จของการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัย ปีการศึกษา ๒๕๕4 เสนอต่อคณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคม (๕.๑-๕-๑) แล้วเสนอต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ (๕.๑-๕-2) เพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัย ในปีการศึกษา ๒๕๕5

 
ผลการประเมิน
 
คะแนน อิงเกณฑ์มาตราฐาน บรรลุเป้าหมาย
สบช 5.00 บรรลุ
สกอ 5.00 บรรลุ
สมศ ไม่บรรลุ
 
แนวทางการพัฒนา
 

 กลุ่มสาระวิชาวางแผนการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

 

 
รายการหลักฐาน
 
 
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6.48