เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๒.๑ งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ (สมศ.๖)
‹ ย้อนกลับ  
   
องค์ประกอบที่ ๔ การวิจัย  
ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๒.๑ งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ (สมศ.๖)
เกณฑ์การให้คะแนน
. ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ ๒๐ เท่ากับ ๕ คะแนน ทุกกลุ่มสาขาวิชา
 
เกณฑ์การประเมิน
 

ข้อมูลประกอบการพิจารณา

๑. จำนวนและรายชื่องานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ของอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่เสร็จสิ้นในปีใดปีหนึ่งในรอบ ๓ ปี โดยนับรวมผลงานที่นำไปใช้ประโยชน์ของอาจารย์และนักวิจัยประจำทั้งที่ปฏิบัติงานจริงและลาศึกษาต่อ พร้อมชื่อเจ้าของผลงาน ปีที่งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ดำเนินการเสร็จ ปีที่นำไปใช้ประโยชน์ ชื่อหน่วยงานที่นำไปใช้ประโยชน์ โดยมีหลักฐานการรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติและนานาชาติที่เกี่ยวข้อง โดยรายงานย้อนหลัง ๓ ปี จนถึงปีปฏิทินที่ตรงกับปีการศึกษาที่ประเมิน ทั้งนี้ให้แสดงข้อมูลที่ระบุรายละเอียดการใช้ประโยชน์ที่ชัดเจนด้วย ตามแนวทางดังต่อไปนี้

 - ข้อมูลที่แสดงผลดีที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจากการนำสิ่งประดิษฐ์อันเป็นผลจากงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย

- ข้อมูลที่แสดงผลดีที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจากการนำนโยบาย กฎหมาย มาตรการ ที่เป็นผลมาจากงานวิจัยนโยบายไปใช้

 - ข้อมูลที่แสดงผลดีที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จากการนำผลงานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาสาธารณะไปใช้

 ๒. จำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำทั้งหมดในแต่ละปีการศึกษา โดยนับรวมอาจารย์และนักวิจัยประจำที่ลาศึกษาต่อ ทั้งนี้ให้รายงานย้อนหลัง ๓ ปี จนถึงปีการศึกษาที่ประเมิน

 
ผลการดำเนินงาน
 
ผู้รับผิดชอบ : 1วรวิทย์ชัยพรเจริญศรี
ผู้กำกับติดตาม : 3สุจินตนาพันธ์กล้า
 

ในปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยฯ มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ และมีประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในการดำเนินงานจัดทำผลงานวิจัยของอาจารย์ของวิทยาลัยฯ โดยมีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ จำนวน 14 เรื่อง (4.2.1-1)ร้อยละ 3๒.๕๖ ซึ่งคิดเป็นคะแนนเท่ากับ ๘.๑๔ ค่าคะแนนเท่ากับ ๕ คะแนน

วิธีการคำนวณ 14 x ๑๐๐ = 3๒.๕๕๘

๔๓

คิดคะแนน = 3๒.๕๙ x = ๘.๑๓๙

๒๐

 
ผลการประเมิน
 
คะแนน อิงเกณฑ์มาตราฐาน บรรลุเป้าหมาย
สบช 5.00 บรรลุ
สกอ 5.00 บรรลุ
สมศ 5.00 บรรลุ
 
แนวทางการพัฒนา
 

คณะกรรมการพัฒนาผลงานวิจัย และงานวิชาการ ดำเนินการพัฒนาอาจารย์ ดังนี้

            1. ฝ่ายวิจัย และนวัตกรรม จัดทำแผนงาน และโครงการเพิ่มผลผลิตการวิจัย และกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการจัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ให้ทันเวลาอย่างน้อยปีละ 6 ชื่อเรื่อง และสนับสนุนให้อาจารย์ที่มีความพร้อมทำคำรับรองเพื่อให้งานวิจัยแล้วเสร็จทันเวลา

            2. ขยายเครือข่ายการวิจัยกับสถาบันด้านการให้บริการสุขภาพทั้งในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ เพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

            3. เผยแพร่ผลงานวิจัยที่แล้วเสร็จไปยังหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายการวิจัย และติดตามการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

            4. สนับสนุนขวัญ และกำลังใจอาจารย์ที่รับทุนวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ ที่มีการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยเสนอของบประมาณสนับสนุนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของอาจารย์ที่เขียนบทความวิจัยต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย หลังจากได้รับการพิจารณาแล้ว ฝ่ายวิจัย และนวัตกรรมประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์ทราบในที่ประชุมประจำเดือน และประชาสัมพันธ์ใน website ของวิทยาลัย

            5. จัดทำ rubric score เพื่อเป็นเกณฑ์สำหรับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนให้กับอาจารย์ที่มีผลงานเสนอต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยพิจารณา

 
รายการหลักฐาน
 
 
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6.48