เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๑ ระบบและกลไกการพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (สกอ.๔.๑)
‹ ย้อนกลับ  
   
องค์ประกอบที่ ๔ การวิจัย  
ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๑ ระบบและกลไกการพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (สกอ.๔.๑)
เกณฑ์มาตรฐานทั่วไป
๑ . มีระบบและกลไกบริหารงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนด้านการวิจัยของสถาบัน และดําเนินการตามระบบที่กําหนด
๒ . มีการบูรณาการกระบวนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์กับการจัดการเรียนการสอน
๓ . มีการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์และให้ความรู้ด้านจรรยาบรรณการวิจัยแก่อาจารย์ประจำและนักวิจัย
๔ . มีการจัดสรรงบประมาณของสถาบัน เพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
๕ . 

มีการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ตามอัตลักษณ์ของสถาบันอย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้

๖. มีการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนในข้อ ๔ และข้อ ๕ อย่างครบถ้วนทุกประเด็น
๗ . มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของสถาบัน
๕.๑ . ห้องปฏิบัติการวิจัยฯ หรือหน่วยวิจัยฯ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คําปรึกษาและสนับสนุนการวิจัยฯ
๕.๒ . 

ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยฯ

๕.๓. สิ่งอํานวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยฯ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย
๕.๔. 

 กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยฯ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือศาสตราจารย์รับเชิญ (visiting professor)

เกณฑ์มาตรฐานเพิ่มเติมเฉพาะกลุ่ม
๘ . มีระบบและกลไกเพื่อสร้างงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์บนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือจากสภาพปัญหาของสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและสังคม และดําเนินการตามระบบที่กําหนด ( เฉพาะ กลุ่ม ข และ ค ๒)
 
เกณฑ์การประเมิน
 

คะแนน ๑

คะแนน ๒

คะแนน ๓

คะแนน ๔

คะแนน ๕

มีการดำเนินการ

๑ ข้อ

ตามเกณฑ์ทั่วไป

มีการดำเนินการ

๒ หรือ ๓ ข้อ

ตามเกณฑ์ทั่วไป

มีการดำเนินการ  ๔ หรือ ๕  ข้อ

ตามเกณฑ์ทั่วไป

มีการดำเนินการ

 ข้อ

ตามเกณฑ์ทั่วไป

มีการดําเนินการครบ ๗

ข้อตามเกณฑ์ทั่วไปและ

ครบถ้วนตามเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มเติมเฉพาะกลุ่ม

 
ผลการดำเนินงาน
 
ผู้รับผิดชอบ : 143บุญสืบโสโสม
ผู้กำกับติดตาม : 3สุจินตนาพันธ์กล้า
 

ระบบและกลไกการพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ วิทยาลัย ฯ ดำเนินการได้ ข้อ ดังนี้

๑. มีระบบ และกลไกบริหารงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายตามแผนด้านการ

วิจัยของสถาบัน และดำเนินการตามระบบที่กำหนด

วิทยาลัยมีระบบที่กำหนดขั้นตอน หลักเกณฑ์การบริหารงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ ไว้ในคู่มือ

งานวิจัย (๔.๑-๑-๑) และมีฝ่ายวิจัย และนวัตกรรม (๔.๑-๑-๒) และกรรมการพัฒนาผลงานวิจัย และวิชาการ
(๔.๑-๑-๓) รับผิดชอบดำเนินการตามระบบโดยจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔ (4.๑-๑-๔) และปีงบประมาณ ๒๕๕๕ (4.๑-๑-๕) ที่มีโครงการพัฒนาคุณภาพการผลิตผลงานวิจัย (๔.๑-๑-๖) และดำเนินการตามระบบโดยมีการประกาศให้ทุนสนับสนุนการวิจัยกับอาจารย์ (๔.๑-๑-๗) มีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาผลงานวิจัย และวิชาการเพื่อดำเนินงานตามระบบ (๔.๑-๑-๘
, ๔.๑-๑-๙, 4.1-1-10)

๒. มีการบูรณาการกระบวนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์กับการจัดการเรียนการสอน

วิทยาลัย มีการบูรณาการกระบวนการวิจัยกับการจัดการเรียนการสอน ๓ รายวิชา คือ (๑) วิชา

ปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพ (๒) วิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ ๑ และ (๓) วิชาการศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ (๔.๑-๒-๑,๔.๑-๒-๒)

๓. มีการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และให้ความรู้ด้านจรรยาบรรณการวิจัยแก่อาจารย์ประจำ และนักวิจัย โดยจัดอาจารย์พี่เลี้ยงให้คำปรึกษากับอาจารย์ในการทำวิจัย (๔.๑-๓-๑) และสนับสนุนการรับทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (๔.๑-๓-๒) และให้ความรู้ด้านจรรยาบรรณวิจัยทบทวนจรรยาบรรณการวิจัยในการประชุมประจำเดือนของวิทยาลัย (๔.๑-๓-3)

๔. มีการสนับสนุนงบประมาณของสถาบัน เพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ วิทยาลัยฯ มีการ

จัดสรรงบประมาณสนับสนุนเพื่อเป็นทุนวิจัย จำนวน ๗๘๘,๕๒๔ บาท (๔.๑-๔-๑)

๕. มีการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ตามอัตลักษณ์ของสถาบัน โดย ดังนี้

- กำหนดให้มีฝ่ายวิจัย และนวัตกรรม (๔.๑-๕-๑) และมีคณะกรรมการพัฒนาผลงานวิจัย และ

วิชาการ รับผิดชอบในการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัย (๔.๑-๕-๒) มีการจัดพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาอาจารย์ที่ดำเนินการวิจัย และจัดทำคลินิกวิจัย มีห้องปฏิบัติการวิจัยอำนวยความสะดวกในการทำวิจัย และรักษาความปลอดภัยในการ จัดเก็บเอกสาร (๔.๑-๕-๓)

- มีห้องสมุด และแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยฐานข้อมูลสำหรับสืบค้นงานวิจัยคือ

ฐานข้อมูล ThaiLIS และฐานข้อมูล Mosby Nursing Consult 1 (๔.๑-๕-๔) มี website ของวิทยาลัยประชาสัมพันธ์แหล่งทุนวิจัย (๔.๑-๕-๕) มีแฟ้มประชาสัมพันธ์แหล่งทุน และเวทีสำหรับแพร่ผลงานวิจัยทั้งใน

ระดับชาติ และนานาชาติ (๔.๑-๕-๖)

- มีสิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยฯ เช่น ระบบเทคโนโลยี

สารสนเทศ ระบบการรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย โดยมีห้องปฏิบัติการวิจัย และมีตู้ที่มีกุญแจจัดเก็บข้อมูล เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (๔.๑-๕-๗)

- มีการจัดกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยโดยจัดทำโครงการสนับสนุนการผลิต และเผยแพร่ผลงานวิชาการ/ตำรา/หนังสือ/บทความวิชาการ มีการจัดกิจกรรมพัฒนาอาจารย์ในการเขียนบทความวิชาการ บทความวิจัย ตำรา การเขียนโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับเตรียมต้นฉบับงานวิจัย (4.1-5-๘)

๖. มีการติดตาม และประเมินผลการสนับสนุนในข้อ ๔ และข้อ ๕ อย่างครบถ้วนทุกประเด็น โดย

จัดทำแบบประเมินความเหมาะสมและความเพียงพอของการจัดสรรงบประมาณและการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองาน สร้างสรรค์ตามอัตลักษณ์ของสถาบันสอบถามอาจารย์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ผลการประเมิน (๔.๑-๖-๑) ผลการประเมินพบว่าอาจารย์มีความต้องการสนับสนุนให้มีเจ้าหน้าที่วิจัยที่สนับสนุนช่วยเหลือด้านการอำนวยความสะดวกด้านการสืบค้นวรรณกรรม การรายงานความก้าวหน้า และการเบิกจ่ายงบประมาณ

๗. มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของ

วิทยาลัยฯ ในข้อ ๖ โดยการจ้างเหมาเจ้าหน้าที่วิจัย (4.1-7-1)

๘. มีระบบและกลไกเพื่อสร้างงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์บนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือจากสภาพปัญหาของสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและสังคม และดำเนินการตามระบบที่กำหนด (เฉพาะกลุ่ม ข และ ค ๒) โดยมีคณะกรรมการพัฒนาผลงานวิจัย และวิชาการ พิจารณาโครงการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์บนพื้นปัญญาท้องถิ่น หรือจากสภาพปัญหาสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น และสังคม (๔.๑-๘-๑) มีการดำเนินการตามระบบโดยมีแผนปฏิบัติการประจำปี ๒๕๕5 (๔.๑-๘-๒) และกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานไว้ในคู่มือการผลิตผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ (๔.๑-๘-3) และมีการดำเนินการตามระบบ (๔.๑-๘-4, ๔.๑-๘-5)

 
ผลการประเมิน
 
คะแนน อิงเกณฑ์มาตราฐาน บรรลุเป้าหมาย
สบช 5.00 บรรลุ
สกอ 5.00 บรรลุ
สมศ ไม่บรรลุ
 
แนวทางการพัฒนา
 

คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยควรจัดทำระบบกำกับติดตามผลการดำเนินการวิจัยให้มีการติดตามในการประชุมประจำเดือนทุกเดือน โดยมีการรายงานความก้าวหน้าของผลการดำเนินการของทุกโครงการวิจัยที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติ มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินการวิจัยที่ถ่านทอดไปยังกลุ่มสาระวิชาทั้ง 3 กลุ่ม โดยจัดทำบันทึกความตกลงกับอาจารย์ให้มีการผลิตผลงานวิจัย และกำหนดให้แผนปฏิบัติการประจำปีมีโครงการวิจัยด้านจากสภาพปัญหาของสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและสังคมในแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๖

 
รายการหลักฐาน
 
 
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6.48