วิทยาลัย ฯ มีผลการดำเนินงานด้านห้องสมุด อุปกรณ์การศึกษา และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ได้ ๗ ข้อ ดังนี้
๑. มีการจัดการหรือจัดบริการเพื่อให้นักศึกษามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในอัตราไม่สูงกว่า ๘ FTES ต่อเครื่อง โดย ในปีการศึกษา ๒๕๕4 ภาคการศึกษาที่ 1 วิทยาลัยมีเครื่องคอมพิวเตอร์จัดไว้บริการสำหรับนักศึกษา จำนวน ๖๕ เครื่อง (๒.๕-๑-๑) และมีคอมพิวเตอร์ Notebook ที่ นักศึกษาลงทะเบียนแล้ว จำนวน ๒28 เครื่อง
(๒.๕-๑-๒) รวมจำนวนคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น ๒๙3 เครื่อง ค่า FTES ปีการศึกษา ๒๕๕4 ภาคการศึกษาที่ 1 เท่ากับ 279.00 (๒.๕-๑-๓) ดังนั้นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในอัตราเท่ากับ 0.95 FTES ต่อเครื่อง (๒.๕-๑-๔)
๒. มีบริการห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และมีการฝึกอบรมการใช้งานแก่นักศึกษาทุกปีการศึกษา โดยวิทยาลัยมีบริการห้องสมุด เปิดให้บริการห้องสมุด ในวันราชการ เวลา ๐๘.๐๐ ๒๐.๐๐ น. ให้บริการในวันเสาร์ เวลา ๐๘.๐๐ ๑๖.๐๐ น. โดยมีบรรณารักษ์และบุคลากรให้บริการ รวมจำนวน ๓ คน มีความจุของที่นั่ง ๑๐๐ ที่นั่ง และมีการพัฒนาฐานข้อมูลห้องสมุด พัฒนาระบบสืบค้น มีระบบฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULIBM เพื่อบริการที่รวดเร็ว (๒.๕-๒-๑) และมีการดำเนินการโครงการฝึกอบรมการใช้บริการห้องสมุดเรื่อง ระบบการสืบค้นและการใช้ฐานข้อมูลการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แก่นักศึกษาชั้นปีที่ ๑ (๒.๕-๒-๒) มีแหล่งเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับฐานข้อมูลการสืบค้นในห้องสมุด ดังนี้
- ฐานข้อมูล ThaiLIS เป็นฐานข้อมูล วิจัยและวิทยานิพนธ์ของวิทยาลัย (๒.๕-๒-๓)
- ฐานข้อมูล Mosbys Nursing Consult (๒.๕-๒-๔)
๓. มีบริการด้านกายภาพที่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักศึกษาอย่างน้อยในด้านห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์การศึกษา และจุดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
โดยมีห้องเรียน จำนวน ๔ ห้อง ทุกห้องเรียนมีโสตทัศนูปกรณ์ LCD projector จำนวนเพียงพอและพร้อมใช้
(๒.๕-๓-๑) มีห้องฝึกปฏิบัติ พร้อมอุปกรณ์การศึกษาทางด้านการพยาบาลและด้านวิทยาศาสตร์ ได้แก่ห้องปฏิบัติการพยาบาล ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (๒.๕-๓-๒) ห้องปฏิบัติการโภชนศาสตร์และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โดยมีบุคลากรที่อำนวยความสะดวกในการใช้ห้อง การใช้อุปกรณ์และมีอาจารย์เป็นผู้กำกับ นอกจากนี้ยังมีระบบ
การยืม-คืนอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ (๒.๕-๓-3) และคู่มือการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเบื้องต้น
(๒.๕-๓-4) วิทยาลัยได้จัดบริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์พร้อมจุดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต จำนวน 100 ที่นั่งที่บริเวณหอพักนักศึกษา และเพิ่มจุดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในระบบไร้สายจำนวน ๑๖ จุด บริเวณอาคารเรียนและหอพัก เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้งานได้สะดวกและเอื้อต่อการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา
๔. มีบริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นอื่นๆ อย่างน้อยในด้านงานทะเบียนนักศึกษาผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การบริการอนามัยและการรักษาพยาบาล การจัดการหรือจัดบริการด้านอาหาร และสนามกีฬา โดยในด้านงานทะเบียนนั้น นักศึกษาสามารถตรวจสอบผลการศึกษาผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอน ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ประเมินคุณภาพการสอนของอาจารย์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (๒.๕-๔-๑) และมีบริการด้านอนามัยและการรักษาพยาบาล ด้านอาหาร และสนามกีฬา (๒.๕-๔-๒) โดยการจัดอาจารย์ปกครองให้การดูแลเรื่องความเจ็บป่วยของนักศึกษา (๒.๕-๔-๓) มีการบริการด้านอาหารโดยคณะกรรมการควบคุมภายในสวัสดิการร้านค้าวิทยาลัยฯ (๒.๕-๔-4)
๕. มีระบบสาธารณูปโภคและรักษาความปลอดภัยของอาคารตลอดจนบริเวณโดยรอบอย่างน้อยในเรื่องประปา ไฟฟ้า ระบบกำจัดของเสีย การจัดการขยะ รวมทั้งมีระบบและอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยในบริเวณอาคารต่าง ๆ โดยเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๒.๕.๕.๑) โดยวิทยาลัยมีการจัดระบบสาธารณูปโภคและรักษาความปลอดภัยของอาคาร ได้แก่การใช้น้ำ ๒ ระบบคือน้ำบาดาลและน้ำประปา มีระบบการระบายน้ำเสียโดยต่อระบายน้ำไปจรดท่อระบายน้ำของเทศบาล มีระบบไฟฟ้า โดยมีหม้อแปลงจำนวน ๓ ชุด ครอบคลุมการใช้งานทั่วพื้นที่ มีระบบการกำจัดขยะโดยมีถังขยะที่ได้มาตรฐานและมีรถของเทศบาลมาเก็บขยะเป็นประจำทุกวัน มีการติดตั้งเครื่องเตือนสัญญาณความปลอดภัยไว้ตามอาคารพร้อมผังติดตั้งและวิธีการใช้ (๒.๕-๕-๒) และมีระบบกล้องวงจรปิดทั่วบริเวณโดยรอบวิทยาลัยฯ จำนวน 23 จุดบริการ(๒.๕-๕-๓)
๖. มีผลการประเมินคุณภาพของบริการในข้อ ๒ ๕ ทุกข้อไม่ต่ำกว่า ๓.๕๑ จากคะแนนเต็ม ๕ โดยวิทยาลัยมีผลการประเมินคุณภาพของบริการข้อ ๒ ๕ ในภาพรวมเท่ากับ ๔.๐5 จากคะแนนเต็ม ๕ ซึ่งมีผลของข้อ ๒ เท่ากับ ๔.23 ข้อ ๓ เท่ากับ ๓.๙4 ข้อ ๔ เท่ากับ ๔.02 และ ข้อ ๕ เท่ากับ 4.02 (๒.๕-๖-๑)
๗. มีการนำผลการประเมินคุณภาพในข้อ ๖ มาใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาการจัดบริการ ด้านกายภาพที่สนองความต้องการของผู้รับบริการโดยนำผลที่ได้จากการประเมินมาประชุมปรึกษาหาแนวทางการแก้ไข (2.5-7-1) และจัดทำโครงการและกิจกรรมการดำเนินการเพื่อพัฒนา (2.5-7-๒)