เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๑ ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร (สกอ. ๒.๑)
‹ ย้อนกลับ  
   
องค์ประกอบที่ ๒ การเรียนการสอน  
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๑ ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร (สกอ. ๒.๑)
เกณฑ์มาตรฐานทั่วไป
๑. มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรใหม่และปรับปรุงหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนด โดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
๒. มีระบบและกลไกการปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
๓ . ทุกหลักสูตรมีการดำเนินงานให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ(การดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หมายถึง ต้องมีการประเมินผลตาม ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา เพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอนกรณีที่หลักสูตรใดยังไม่มีประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา ให้ประเมินตามตัวบงชี้กลางที่กำหนดในภาคผนวก ก)สำหรับหลักสูตรสาขาวิชาชีพต้องได้รับการรับรองหลักสูตรจากสภาหรือองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องด้วย
๔ . มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ ๑ ข้อ ๒ และ ข้อ ๓ ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการประเมินหลักสูตรทุกหลักสูตรอย่างน้อยตามกรอบเวลาที่กำหนดในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฯกรณีหลักสูตรที่ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติจะต้องควบคุมกำกับให้การดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ ๓ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ๕ ข้อแรกและอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของตัวบ่งชี้ที่กำหนดในแต่ละปี ทุกหลักสูตร
๕ . มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ ๑ ข้อ ๒ และ ข้อ ๓ ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการพัฒนาหลักสูตรทุกหลักสูตรตามผลการประเมินในข้อ ๔กรณีหลักสูตรที่ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จะต้องควบคุมกำกับให้การดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ ๓ ผ่านเกณฑ์การประเมินครบ ทุกตัวบ่งชี้และทุกหลักสูตร
เกณฑ์มาตรฐานเพิ่มเติมเฉพาะกลุ่ม
๖. มีความร่วมมือในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรระหว่างสถาบันกับภาครัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของหลักสูตร มากกว่า ร้อยละ ๓๐ของจำนวนหลักสูตรวิชาชีพทั้งหมดทุกระดับการศึกษา (เฉพาะกลุ่ม ค ๑ และ ค ๒)
 
เกณฑ์การประเมิน
 

คะแนน ๑

คะแนน ๒

คะแนน ๓

คะแนน ๔

คะแนน ๕

มีการดำเนินการ

๑ ข้อ

มีการดำเนินการ

   ข้อ

มีการดำเนินการ    ข้อ

มีการดำเนินการ

 ข้อ

มีการดำเนินการ

๕ ข้อตามเกณฑ์ทั่วไป และครบถ้วนตามเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มเติมเฉพาะกลุ่ม

 
ผลการดำเนินงาน
 
ผู้รับผิดชอบ : 143สุนทรีย์คำเพ็ง
ผู้กำกับติดตาม : 143สุนทรีย์คำเพ็ง
 

ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร วิทยาลัยฯ ดำเนินการได้ ๖ ข้อ ดังนี้

๑. มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรใหม่และปรับปรุงหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด

วิทยาลัยฯได้กำหนดระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรและปรับปรุงหลักสูตร (๒.๑-๑-๑) และได้ดำเนินการตามขั้นตอน โดยในปีการศึกษา ๒๕๕๔ สถาบันพระบรมราชชนกได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๒) ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยฯได้เข้าร่วมจัดทำร่างหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์
(๒.๑-๑-๒ ถึง ๒.๑-๑-๕)

๒. มีระบบและกลไกการปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา
และดำเนินการตามระบบที่กำหนด

วิทยาลัยฯ ได้กำหนดระบบการปิดหลักสูตร (๒.๑-๒-๑) โดยในปีการศึกษา ๒๕๕๔ ยังไม่มีการขอปิดหลักสูตร

๓. ทุกหลักสูตรมีการดำเนินงานให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (การดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หมายถึง ต้องมีการประเมินผลตาม “ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา เพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอน” กรณีที่หลักสูตรใดยังไม่มีประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา ให้ประเมินตามตัวบ่งชี้กลางที่กำหนดในภาคผนวก ก) สำหรับหลักสูตรสาขาวิชาชีพต้องได้รับการรับรองหลักสูตรจากสภาหรือองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องด้วย

(หมายเหตุ : สำหรับหลักสูตรเก่าหรือหลักสูตรปรับปรุงที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติก่อนปีการศึกษา ๒๕๕๕ ให้ยึดตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาพ.ศ. ๒๕๔๘ )

โดยในปีการศึกษา ๒๕๕๔ หลักสูตรที่เปิดสอนในวิทยาลัยฯยังไม่ได้มีการดำเนินงานให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ อยู่ในระหว่างเสนอหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต(ปรับปรุง พศ.๒๕๕๕ ) ต่อสภามหาวิทยาลัยมหิดล และหลักสูตรที่ใช้ใน ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ได้แก่หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๐ (๒.๑-๓-๑) หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๒) (๒.๑-๓-๒) ซึ่งหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์หลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๔๘ (๒.๑-๓-๓)

๔. มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ ๑ ข้อ ๒ และข้อ ๓ ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการประเมินหลักสูตรทุกหลักสูตรอย่างน้อยตามกรอบเวลาที่กำหนดในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฯ กรณีหลักสูตรที่ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จะต้องควบคุมกำกับให้การดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ ๓ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ๕ ข้อแรกและอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของตัวบ่งชี้ที่กำหนดในแต่ละปี ทุกหลักสูตร

วิทยาลัยฯ แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร(๒.๑-๔-๑ ) มีการดำเนินงานตามข้อ ๑ ข้อ ๒ และ ข้อ ๓ (๒.๑-๔-๒,๒.๑-๔-๓ ) และสถาบันพระบรมราชชนกได้มีการประเมินผลการนำหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2552)ไปใช้ และได้มีการนำผลมาปรับปรุง หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุงพ.ศ.๒๕๕๕) (๒.๑-๔-๔)

๕. มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ ๑ ข้อ ๒ และข้อ๓ ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการพัฒนาหลักสูตรตามผลการประเมินในข้อ ๔ กรณีหลักสูตรที่ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จะต้องควบคุมกำกับให้การดำเนินงานตาม ตัวบ่งชี้ในข้อ ๓ ผ่านเกณฑ์การประเมินครบ ทุกตัวบ่งชี้และทุกหลักสูตร

วิทยาลัยฯโดยคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร(2.1-5-1) ร่วมกับสถาบันพระบรมราชชนกและวิทยาลัยฯที่เป็นสถาบันสมทบมหาวิทยาลัยมหิดลได้ปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ (๒.๑-๕-2)

๖. มีความร่วมมือในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรระหว่างสถาบันภาครัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของหลักสูตร มากกว่าร้อยละ ๓๐ ของจำนวนหลักสูตรวิชาชีพทั้งหมดทุกระดับการศึกษา โดยในปีการศึกษา ๒๕๕4 วิทยาลัยฯได้ร่วมมือในการพัฒนาและบริหารหลักสูตร ร้อยละ ๑๐๐โดยมีการจัดโครงการสัมมนาครูพี่เลี้ยงและอาจารย์พิเศษ (๒.๖-๑-๑) โครงการสร้างความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการศึกษาทั่วไปกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ปีการศึกษา ๒๕๕4 (๒.๖-๑-๒) และทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับแหล่งฝึก เช่นโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช (๒.๖-๑-๓) โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ (๒.๖-๑-๔) และโรงพยาบาลพระพุทธบาท(2. 6-1-5)

 
ผลการประเมิน
 
คะแนน อิงเกณฑ์มาตราฐาน บรรลุเป้าหมาย
สบช 5.00 บรรลุ
สกอ 5.00 บรรลุ
สมศ ไม่บรรลุ
 
แนวทางการพัฒนา
 

๑.       กลุ่มวิชาการและคณะกรรมการบริหารหลักสูตรจัดทำคู่มือและชี้แจงการใช้หลักสูตรตามกรอบ

มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๕

                ๒.คณะกรรมการบริหารหลักสูตรติดตามประเมินผลการบริหารหลักสูตรเมื่อสิ้นปีการศึกษา ๒๕๕๕

 
รายการหลักฐาน
 
 
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6.48