ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถาบัน วิทยาลัยฯ ดำเนินการได้ ๕ ข้อ ดังนี้
๑. มีการกำหนดกลยุทธ์การปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับจุดเน้น จุดเด่น หรือความเชี่ยวชาญ
เฉพาะของสถาบัน โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบัน
สถาบันพระบรมราชชนกได้ประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันโดยมีผู้อำนวยการวิทยาลัยทุกแห่งเข้าร่วมประชุมเพื่อกำหนดเอกลักษณ์ของสถาบัน คือ สร้างคนจากชุมชนเพื่อตอบสนองระบบสุขภาพชุมชน หมายถึง การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพเพื่อให้ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานบริการสุขภาพสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้องกับการดูแล รักษา ส่งเสริม และป้องกันสุขภาพของประชาชน รวมทั้งหน่วยงานจัดการศึกษาสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยประกาศเอกลักษณ์ทาง เวบไซด์ สถาบันพระบรมราชชนก (๑.๑.๓-๑-๑) วิทยาลัยได้นำเอกลักษณ์ที่สถาบันพระบรมราชชนกกำหนดเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารประจำเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อพิจารณาของความเห็นชอบ คณะกรรมการบริหารมีมติให้ใช้เอกลักษณ์ ดังกล่าว (๑.๑.๓-๑-๒) จากนั้นได้นำเรื่องการกำหนดเอกลักษณ์สถาบันมาประกาศให้อาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาทราบโดยจัดทำเป็นประกาศของวิทยาลัย และชี้แจงให้อาจารย์ บุคลากรทราบในที่ประชุมประจำเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ (๑.๑.๓-๑-๓) และได้ชี้แจง อธิบาย ให้นักศึกษาทราบ (๑.๑.๓-๑-๔) วิทยาลัย มีการกำหนดกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องจำนวน ๑ กลยุทธ์
เป็นกรอบในการพัฒนาเอกลักษณ์ และได้รับการอนุมัติเห็นชอบแผนการพัฒนาเอกลักษณ์จากคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย
๒. มีการสร้างระบบการมีส่วนร่วมของผู้เรียนและบุคลากรในการปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ที่กำหนดอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
วิทยาลัยสร้างระบบการมีส่วนร่วมของผู้เรียนและบุคลากรในการปฏิบัติตามกลยุทธ์ที่กำหนด อย่างครบถ้วน (๑.๑.๓-๒-๑) มีการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาจะกำหนดประเภทการรับนักศึกษาโดยเน้นคนในพื้นที่ตามภูมิลำเนาเป็นหลัก มีการกำหนดโควต้าให้กับพื้นที่และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะต้องกลับไปทำงานในภูมิลำเนาของตนเอง (๑.๑.๓-๒-๒) ดำเนินการจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอนปีการศึกษา ๒๕๕๔ (๑.๑.๓-๒-๓) ให้สามารถกลับไปทำงานในพื้นที่ได้ ในระหว่างที่เรียนวิทยาลัยได้สร้างความตระหนักให้กับนักศึกษาให้กลับไปทำงานในพื้นที่ โดยจัดประสบการณ์ในการศึกษาภาคปฏิบัติในวิชาทางการพยาบาล (๑.๑.๓-๒-๔) โครงการเตรียมความพร้อมก่อนการศึกษา(ปฐมนิเทศ) โครงการเตรียมความพร้อมก่อนสำเร็จการศึกษา (ปัจฉิมนิเทศ) (๑.๑.๓-๒-๕) นอกจากนี้การพัฒนาบุคลากรวิทยาลัยได้เน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น ได้จัดโครงการพัฒนาประสบการณ์วิชาชีพแก่ศิษย์เก่า โครงการอบรมหลักสูตรพัฒนาทักษะการบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรุ่นที่ ๒ ประจำปี ๒๕๕๔ โครงการประชุมวิชาการประจำปี เรื่องเทคนิคการให้คำปรึกษาการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ (๑.๑.๓-๒-๖)
๓. ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามจุดเน้นและจุดเด่นหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของสถาบัน ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๑ จากคะแนนเต็ม ๕
วิทยาลัยฯได้สำรวจความพึงพอใจของอาจารย์และเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามจุดเด่น จุดเน้นที่สะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของวิทยาลัย ปีการศึกษา๒๕๕๓ พบว่า ผลการประเมินความเห็นของอาจารย์และเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามจุดเน้น จุดเด่นที่สะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของวิทยาลัย มีค่าคะแนน ๔.๑๑ จากคะแนนเต็ม ๕ (๑.๑.๓-๓-๑)
๔. ผลการดำเนินงานบรรลุตามจุดเน้น จุดเด่น หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะสถาบันและเกิดผลกระทบที่เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อสังคม
วิทยาลัยมีการรับสมัครบุคคลที่มาจากชุมชนตามความต้องการของระบบบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข และบัณฑิตทุกคนกลับไปปฏิบัติงานในหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข (๑.๑.๓-๔-๑) ข้อมูลจากการสำรวจการได้งานทำของบัณฑิตปี ๒๕๕๓ พบว่าบัณฑิตกลับไปทำงานในชุมชน (หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข) ร้อยละ ๑๐๐ จากการสนทนากลุ่มกับผู้ใช้บัณฑิต พบว่า ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในการดูแลสุขภาพของผู้รับบริการอย่างดี ได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงาน (๑.๑.๓-๔-๒)
๕. สถาบันมีเอกลักษณ์ตามจุดเน้น จุดเด่น หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะที่กำหนดและได้รับการยอมรับในระดับชาติและ/หรือนานาชาติ
ผู้เรียน/บุคลากร/คณะ/สถานศึกษา/วิทยาลัยได้รับการยอมรับในระดับชาติ คือ วิทยาลัยได้รับประกาศเกียรติคุณจากกระทรวงสาธารณสุขที่ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพอย่างมีมาตรฐาน สนับสนุนให้ระบบบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข สามารถให้การดูแลประชาชนไทยอย่างมีคุณภาพ เดือน มิถุนายน ๒๕๕๔ (๑.๑.๓-๕-๑)