ผลการบริหารสถาบันให้เกิดอัตลักษณ์ วิทยาลัยปฏิบัติได้ ๕ ข้อ ดังนี้
๑. มีการกำหนดกลยุทธ์การปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ ปรัชญา ปณิธาน พันธกิจและวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา โดยได้รับการเห็นชอบจากสภาสถาบัน
สถาบันพระบรมราชชนก (สบช.)ได้ประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันโดยมีผู้อำนวยการวิทยาลัยทุกแห่งเข้าร่วมประชุมเพื่อกำหนดอัตลักษณ์ของสถาบัน คือ บริการสุขภาพด้วยหัวใจ ความเป็นมนุษย์ และกำหนดสมรรถนะบัณฑิตที่ตอบสนองอัตลักษณ์ไว้ ๓ ด้าน คือ จิตบริการ (Service Mind) การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) การคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วยและการให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วม (Patient Right/ Participation) (๑.๑.๑-๑-๑) วิทยาลัยได้นำอัตลักษณ์ที่สถาบันพระบรมราชชนกกำหนดเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร ในการประชุม ครั้งที่๒/๒๕๕๔ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการมีมติให้ใช้อัตลักษณ์ที่กำหนดมาจากสถาบันพระบรมราชชนก (๑.๑.๑-๑-๒) จากนั้นได้นำเรื่องการกำหนดอัตลักษณ์มาชี้แจง อธิบายให้อาจารย์ บุคลากรและนักศึกษารับทราบเพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา (๑.๑.๑-๑-๓) และนำแผนการพัฒนาอัตลักษณ์ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหาร ในการประชุม ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๔ วันศุกร์ที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ (๑.๑.๑-๑-๔)
วิทยาลัยฯ มีการกำหนดกลยุทธ์คือกลยุทธ์พัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล ควบคู่คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพและกลยุทธ์พัฒนาระบบบริการวิชาการแบบบูรณาการเพื่อตอบสนองระบบสุขภาพชุมชนและให้เกิดองค์ความรู้ตามจุดเน้นของวิทยาลัย กำหนดแผนงานและโครงการไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี และได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารและในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ กำหนดกลยุทธ์สร้างบัณฑิตให้บริการด้านสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และกำหนดแผนการพัฒนาการเรียนการสอนที่ส่งเสริมอัตลักษณ์ให้กับบัณฑิต และกำหนดโครงการไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี ๒๕๕๕ (๑.๑.๑-๑-๕) และได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย
๒. มีการสร้างระบบการมีส่วนร่วมของผู้เรียนและบุคลากรในการปฏิบัติตามกลยุทธ์ที่กำหนดอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
วิทยาลัยฯกำหนดระบบการมีส่วนร่วมของผู้เรียนและบุคลากร ในการปฏิบัติตามกลยุทธ์ที่กำหนด (๑.๑.๑-๒-๑) โดยเน้นให้อาจารย์สอดแทรกการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ไว้ในการเรียนการสอนรายวิชา ได้แก่ วิชา มนุษย์ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ วิชาการศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ และวิชาการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย (๑.๑.๑-๒-๒) และการพัฒนานักศึกษา รวมทั้งกิจกรรมของสโมสรและชมรมต่างๆ เช่น โครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการแก่สังคม การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและกิจการนักศึกษาเรื่องการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (๑.๑.๑-๒-๓) ในส่วนของบุคลากรสายสนับสนุน จะให้การสนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
๓. ผลการประเมินความเห็นของผู้เรียนและบุคลากรเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของสถาบันที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๑ จากคะแนนเต็ม ๕
วิทยาลัยประเมินความเห็นของผู้เรียนและบุคลากรเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของสถาบันที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ ผลการประเมินความเห็นของผู้เรียนเท่ากับ ๔.51 และผลการประเมินความเห็นของบุคลากรเท่ากับ ๔.16 จากคะแนนเต็ม ๕ (๑.๑.๑-๓-๑) การประเมินพฤติกรรมการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามการรับรู้ของผู้สำเร็จการศึกษาเท่ากับ 4.57 (1.1.1-3-2)
๔. ผลการดำเนินงานก่อให้เกิดผลกระทบที่เกิดประโยชน์และ/หรือสร้างคุณค่าต่อสังคม
ผลกระทบที่เกิดประโยชน์และหรือสร้างคุณค่าต่อสังคมจากการพัฒนาอัตลักษณ์ของวิทยาลัย คือ ส่งผลให้นักศึกษามีพฤติกรรมที่มีจิตอาสา โดยดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ต่อชุมชนและครอบครัว เช่น นักศึกษาพยาบาล มีจิตอาสาไปช่วยฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยไปช่วยเก็บขยะ ล้างทำความสะอาดวัด ที่ตำบลหนองแก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ส่งผลให้ประชาชน มีกำลังใจที่นักศึกษามาช่วยผ่อนแรงประชาชนมีความพึงพอใจและชื่นชมนักศึกษาที่ได้เข้าไปช่วยเหลือ สามารถแบ่งเบาภาระงาน ทำให้งานสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว นักศึกษามีจิตอาสาจัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพด้วยโยคะวิถีพุทธในผู้สูงอายุ ผลการดำเนินงานจัดโครงการและกิจกรรมต่างๆ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยจากการที่ได้สนทนากลุ่มกับผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ ผู้สูงอายุบอกว่า ได้สร้างเสริมสุขภาพ ได้เครือข่ายทางสังคม รู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และเป็นผู้นำในการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนได้อย่างยั่งยืน (๑.๑.๑-๔-๑)
๕. ผู้เรียน/บุคลากร/คณะ/สถาบัน ได้รับการยกย่องหรือยอมรับในระดับชาติและ/หรือนานาชาติ ในประเด็นที่เกี่ยวกับอัตลักษณ์
นักศึกษาได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดผลงานจิตอาสาสร้างสุขภาพของนักศึกษา ปีการศึกษา 2๕๕๔ จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (๑.๑.๑-๕-๑)