เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๖ ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน (สกอ.๒.๖)
‹ ย้อนกลับ  
   
องค์ประกอบที่ ๒ การเรียนการสอน  
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๖ ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน (สกอ.๒.๖)
เกณฑ์มาตรฐาน
๑.. 

 มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญทุกหลักสูตร

๒..  ทุกรายวิชาของทุกหลักสูตร มีรายละเอียดของรายวิชาและของประสบการณ์ภาคสนาม(ถ้ามี) ก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา   ตามที่กำหนดในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
๓.. 

 ทุกหลักสูตรมีรายวิชาที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียนหรือจากการทำวิจัย

๔. . 

มีการให้ผู้มีประสบการณ์ทางวิชาการหรือวิชาชีพจากหน่วยงานหรือชุมชนภายนอกเขา มามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนทุกหลักสูตร

๕. . 

มีการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาจากการวิจัยหรือจากกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

๖.. 

             มีการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทุกรายวิชา ทุกภาคการศึกษา โดยผลการประเมินความพึงพอใจแต่ละรายวิชาต้องไม่ต่ำกว่า ๓.๕๑  จากคะแนนเต็ม ๕

๗. . 

มีการพัฒนาหรือปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้ ทุกรายวิชา ตามผลการประเมินรายวิชา

 
เกณฑ์การประเมิน
 

คะแนน ๑

คะแนน ๒

คะแนน ๓

คะแนน ๔

คะแนน ๕

มีการดำเนินการ

๑ ข้อ

มีการดำเนินการ

๒ – ๓   ข้อ

มีการดำเนินการ  ๔ – ๕  ข้อ

มีการดำเนินการ

 ข้อ

มีการดำเนินการ

๗ ข้อ

 
ผลการดำเนินงาน
 
ผู้รับผิดชอบ : 143กนกพรเทียนคำศรี
ผู้กำกับติดตาม : 143สุนทรีย์คำเพ็ง
 

ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน วิทยาลัยฯดำเนินการได้ ข้อ ดังนี้

๑. มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทุกหลักสูตร โดยกำหนดระบบ / ขั้นตอน สำหรับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในคู่มืออาจารย์ ( ๒.๖-๑-๑) และดำเนินการตามระบบที่กำหนดไว้ (๒.๖-๑-๒,๒.๖-๑-๓ )

๒. ทุกรายวิชาของทุกหลักสูตร มีรายละเอียดของรายวิชาและของประสบการณ์ภาคสนาม ก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา ตามที่กำหนดในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ โดยทุกรายวิชาภาคทฤษฎี มีการจัดทำ มคอ. ๓ และทุกรายวิชาภาคปฏิบัติ มีการจัดทำ มคอ. ๔ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ก่อนการเปิดสอนของภาคการศึกษา ( ๒.๖-๒-๑ )

. ทุกหลักสูตรมีรายวิชาที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียนหรือจากการทำวิจัย( ๒.๖-๓-1 ) เช่น การศึกษาสภาพการณ์จริงในรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย ( ๒.๖-๓-2 ) วิชามนุษย์ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (2.6-3-3) การศึกษาดูงาน ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 (2.6-3-4) และวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 (2.6-3-5)

๔. มีการให้ผู้มีประสบการณ์ทางวิชาการหรือวิชาชีพจากหน่วยงานหรือชุมชนภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนทุกหลักสูตร มีการดำเนินการเชิญผู้มีประสบการณ์มามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ( ๒.๖-๔-๑) มีการประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี จังหวัดลพบุรี สอนวิชาการศึกษาทั่วไป (๒.๖-๔-2) และกับแหล่งฝึกภาคปฏิบัติ เช่น โรงพยาบาลพระพุทธบาท โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช และโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ (๒.๖-๔-3,๒.๖-๔-๔,๒.๖ -๔-5)

. มีการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาจากการวิจัยหรือจากกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนโดยมีการนำความรู้ที่ได้จาการวิจัยเรื่อง การใช้แผนที่ความคิดเพื่อการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนของนักศึกษาพยาบาล : ข้อค้นพบจากการสะท้อนคิดในชั้นเรียน เรื่อง การพยาบาลมารดาทารกที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะตั้งครรภ์ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลมารดาทารก และการผดุงครรภ์ 2 (2.6-5-1,2.6-5-2)

6. มีการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอน คุณภาพการสอนของอาจารย์และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทุกรายวิชา ทุกภาคการศึกษา โดยผลการประเมินความพึงพอใจแต่ละรายวิชาต้องไม่ต่ำกว่า ๓.๕๑ จากคะแนนเต็ม ๕ โดยทุกรายวิชามีผลการประเมินความพึงพอใจต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ๓.๙๕ – ๔.๕๘ ( ๒.6-6-๑ ) การประเมินความพึงพอใจต่อคุณภาพการสอนของอาจารย์ ได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ๓.๗๑ - ๔.๖๙ ( ๒.6-6-๒ ) การประเมินความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ๓.๘๔-๔.๒๕ ( ๒.6-6-๓ )

7. มีการพัฒนาหรือปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้ ทุกรายวิชา ตามผลการประเมินรายวิชา โดยมีการสรุปผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนและกำหนดแนวทางการพัฒนา ปรับปรุง การจัดการเรียนการสอนรายวิชาใน มคอ ๕ และ ๖ ( ๒.๖-7-๑, ๒.๖-7-๒)

 
ผลการประเมิน
 
คะแนน อิงเกณฑ์มาตราฐาน บรรลุเป้าหมาย
สบช 5.00 บรรลุ
สกอ 5.00 บรรลุ
สมศ ไม่บรรลุ
 
แนวทางการพัฒนา
 

๑.  กลุ่มวิชาการจัดอบรมให้ความรู้อาจารย์เรื่องการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติก่อนเปิดภาคการศึกษา  ๒๕๕5

๒. กลุ่มวิชาการจัดเวทีสัมมนา   แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

 
รายการหลักฐาน
 
 
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6.48