ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน วิทยาลัยฯดำเนินการได้ ๙ ข้อ ดังนี้
๑. มีระบบ และกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ พันธกิจและพัฒนาการของสถาบัน ตั้งแต่ระดับภาควิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่า และดำเนินการตามระบบที่กำหนด วิทยาลัยฯ มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาซึ่งกำหนดไว้ในคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ(Quality Control) การตรวจสอบติดตามคุณภาพ (Quality Auditting) การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) (๙.๑-๑-๑)และมีกลไกการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาโดยส่งอาจารย์เข้าร่วมการอบรมหลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพภายในของ สบช.และแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา (๙.๑-๑-๒) ดำเนินการตรวจสอบติดตามคุณภาพในระดับกลุ่ม/ฝ่าย (Quality Auditting) (๙.๑-๑-๓) วิทยาลัยฯจัดการประชุมให้ความรู้และมีกิจกรรมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาแก่อาจารย์และบุคลากรและมีการประชุมเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินคุณภาพ(Quality Assessment)ระดับวิทยาลัยฯ(๙.๑-๑-๔)จากคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสถาบันพระบรมราชชนก(สบช.)และคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓ ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาและรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (๙.๑-๑-๕ , ๙.๑-๑-๖ , ๙.๑-๑-๗)
๒.มีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของสถาบัน โดยคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ ได้ร่วมกันพิจารณาและกำหนดนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๓ (๙.๑-๒-๑) และประกาศให้บุคลากรในองค์การรับทราบ(๙.๑-๒-๒)
๓. มีการกำหนดตัวบ่งชี้เพิ่มเติมตามอัตลักษณ์ของสถาบัน โดยคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ มีการกำหนดตัวบ่งชี้เพิ่มเติมตามอัตลักษณ์ของสถาบันตามที่สถาบันพระบรมราชชนกได้กำหนดไว้ คือ ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๑.๑ ผลการบริหารสถาบันให้เกิดอัตลักษณ์(สมศ.๑๖.๑) และตัวบ่งชี้ที่ ๑.๑.๒ ผลการบริหารสถาบันให้เกิดอัตลักษณ์(สมศ. ๑๖.๒) (๙.๑-๓-๑)และมีการมอบหมายให้มีผู้ควบคุมกำกับและผู้รับผิดชอบการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายในแต่ละตัวบ่งชี้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบันประกาศให้บุคลากรในองค์การรับทราบ(๙.๑-๓-๒ , ๙.๑-๓-๓, ๙.๑-๓-๔)
๔. มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย ๑) การควบคุมคุณภาพโดยการกำหนดองค์ประกอบ/มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ เกณฑ์และค่าน้ำหนักการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓ (๙.๑-๔-๑) มีการกระจายความรับผิดชอบตัวบ่งชี้สู่ผู้ปฏิบัติงานและมอบหมายให้รองผู้อำนวยการแต่ละกลุ่มงานเป็นผู้ควบคุมกำกับตัวบ่งชี้คุณภาพ(๙.๑-๔-๒) และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อดำเนินการตรวจติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา(๙.๑-๔-๓)และมีโครงการ/กิจกรรมการเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสถาบันพระบรมราชชนก (๙.๑-๔-๔) ๒) การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพเสนอต่อสภาสถาบันและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามกำหนดเวลา โดยวิทยาลัยฯเป็นรายงานที่มีข้อมูลครบถ้วนตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดใน CHE QA Online (๙.๑-๔-๕) และ ๓) การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน (๙.๑-๔-๖)
๕. มีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทำงาน และส่งผลให้มีการพัฒนา ผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ทุกตัวบ่งชี้ โดยทุกกลุ่ม/ฝ่าย นำแผนพัฒนาคุณภาพสถาบัน(Improvement Plan) ปีการศึกษา ๒๕๕๒ มาพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ (๙.๑-๕-๑)
๖.มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง ๙ องค์ประกอบคุณภาพ โดยวิทยาลัยได้จัดทำฐานข้อมูลบุคลากร งานพัฒนาบุคลากร งานวิจัย งานบริการวิชาการ ระบบงานทะเบียนและประมวลผลการศึกษาและงานประกันคุณภาพการศึกษา (๙.๑-๖-๑) และได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมใช้ฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับอุดมศึกษา(CHE QA Online) ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) (๙.๑-๖-๒)
๗. มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษาผู้ใช้บัณฑิตและผู้ใช้บริการตามพันธกิจของสถาบัน โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประกันคุณภาพการศึกษาได้ร่วมเป็นคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๓ (๙.๑-๗-๑) และมีการประชุมร่วมกันในการให้ข้อเสนอแนะในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยฯ (๙.๑-๗-๒)
๘. มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างสถาบันและมีกิจกรรมร่วมกัน โดยวิทยาลัยฯสนับสนุนให้อาจารย์เข้ารับการอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ซึ่งจัดโดยวิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคกลาง (๙.๑-๘-๑) และเข้าร่วมเป็นกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในวิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายฯ สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก(๙.๑-๘-๒) และมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๓ (๙.๑-๘-๓) และสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมการอบรมในโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักศึกษาใน
การประกันคุณภาพการศึกษา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ (๙.๑-๘-๔)
๙. มีแนวปฏิบัติที่ดีหรืองานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่หน่วยงานพัฒนาขึ้นและเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ โดยวิทยาลัยฯ ได้ดำเนินการทำวิจัย เรื่อง การศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท (๙.๑-๙-๑) และดำเนินการเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นได้ใช้ประโยชน์ (๙.๑-๙-๒)